วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2559

หลักฐาน "ธรรมกาย" ในวิสุทธิมรรคมหาฎีกา



            ในหลักฐานวิสุทธิมรรคมหาฎีกา  มีปรากฎคำว่า ธรรมกาย ๓ แห่ง โดยหลักฐานภาษาบาลีค้นจากฉบับมหาจุฬาฯ

            หลักฐานวิสุทธิมรรคมหาฎีกา  (ดูรายละเอียดฉบับสมบูรณ์ที่ภาคผนวกหน้า ๑๐๗-๑๑๒)

            ๑.ปรตฺถมญฺชุสาย นาม วิสุทฺธิมคฺคสํวณฺณนาย มหาฎีกาสมฺมตาย ปฐโม ภาโค (พุทธานุสติ) ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๓๐๒-๓๐๓

(วิสุทฺธิ.ฎีกา ปรตฺถมญฺชุสา พรรณนาอนุสตินิเทศ (พุทธานุสติ) ภาค ๒ ฉบับภูมิพโลภิกขุ บาลี-ไทย หน้า ๔๙๔-๔๙๗)

            สตปุญฺญลกฺขณธรสฺสาติ อเนกสตปุญฺยนิพฺพตฺตมหาปุริสลกฺขณวหโต รูปกายสมฺปตฺติ ทีปิตา โหติ, อิตราสํ ผลสมฺปทานํ มูลภาวโต, อธิฏฺฐานภาวโต จ. ธมฺมกายสมฺปตฺติ ทีปิตา โหติ, ปหานสมฺปทาปุพฺพกตฺตา ญาณสมฺปทาทีนํ. ภาคฺยวตาย โลกิยานํ พหุมตภาโว. ภคฺคโทสตาย ปริกฺขกานํ พหุมตภาโวติ โยชนา.

            เอวํ อิโต ปเรสุปิ ยถาสงฺขยํ โยเชตพฺพํ. ปุญฺญวนฺตํ หิ คหฏฺฐา ขตฺติยาทโย อภิคจฺฉติ, ปหีนโทสํ ปพฺพชิตตาปสปริพฺพาชกาทโย  "โทสวินยาย ธมฺมํ เทเสตี ติ. อภิคตานญฺจ เนสํ กายจิตฺตทุกฺขาปนยเน ปฏิพลภาโว, อามิสทานธมฺมทาเนหิ อุปการสพฺภาวโต. รูปกายํ ตสฺส ปสาทจกฺขุนา ธมฺมกายํ ปญฺญาจกฺขุนา ทิสฺวา ทุกฺขทฺวยสฺส ปฏิปฺปสฺสมฺภนโต อุปคตานญฺจ เตสํ อามิสทานธมฺมทาเนหิ อุปการิตา, ปุพฺเพ อามิสทานธมฺมทาเนหิ มยายํ โลกคฺคภาโว อธิคโต, ตสฺมา ตุเมฺหหิปิ เอวเมว ปฏิปชฺชิตพฺพนฺ ติ เอวํ สมฺมาปฏิปตฺติยํ นิโยชเนน อภิคตานํ โลกิยโลกุตฺตรสุเขหิ สํโยชนสมตฺถตา จ ทีปิตา โหติ.

            คำว่า ผู้ทรงไว้ซึ่งพระลักษณะอันบังเกิดเพราะบุญนับเป็นร้อย คือผู้รุ่งเรืองด้วยพระมหาปุริสลักษณะ อันบังเกิดเพราะบุญหลายร้อย ชื่อว่า เป็นอันแสดงพระรูปกายสมบัติ ก็เพราะความเป็นมูล และความเป็นที่ตั้ง แห่งผลสัมปทาทั้งหลายนอกนี้ (คือพระรูปกายสัมปทาเป็นมูล และเป็นที่ตั้งแห่งพระญาณสัมปทา พระปหานสัมปทา และพระอนุภาวสัมปทา). ชื่อว่าเป็นอันแสดงพระธรรมกายสมบัติ ก็เพราะพระญาณ-สัมปทาเป็นต้น มีพระปหานสัมปทาเป็นเบื้องต้น. ประกอบความว่า ด้วยความเป็นผู้หักทำลายโทษ เป็นอันแสดงความเป็นผู้ที่คนมีปัญญานับถือเป็นอันมาก

            แม้ในคำอื่นๆ จากนี้ ก็พึงประกอบไปตามที่นับได้อย่างนี้ จริงอยู่ พวกคฤหัสถ์ทั้งหลาย มีกษัตริย์เป็นต้น ย่อมคบหาท่านผู้มีบุญ พวกคนมีปัญญาที่เป็นบรรพชิต ดาบส ปริพาชก เป็นต้น ย่อมคบหาท่านผู้ละโทษได้แล้ว ด้วยคำว่า"พระองค์จะแสดงธรรมเพื่อกำจัดโทษ  ดังนี้ ชื่อว่าและแสดงความสามารถในอันขจัดทุกข์ทางกาย และทุกข์ทางใจ ของบุคคลผู้ที่คบหาพระองค์เหล่านั้น ก็เพราะทรงมีพระอุปการะด้วยอามิสทาน และธรรมทาน (ขจัดทุกข์ทางกายด้วยอามิสทาน ขจัดทุกข์ทางใจด้วยธรรมทาน). ชื่อว่าเป็นอันแสดงความเป็นผู้มีอุปการะ ด้วยอามิสทานและธรรมทาน แก่บุคคลผู้คบหาพระองค์เหล่านั้น ก็เพราะการที่เขาเห็นพระรูปกายด้วยปสาทจักษุ เห็นพระธรรมกายด้วยปัญญาจักษุแล้วก็ระงับทุกข์ทั้ง ๒ ได้, ชื่อว่า และเป็นอันแสดงความสามารถ ในอันให้ประกอบด้วยโลกียสุขและโลกุตตรสุข ก็โดยการที่ทรงชักชวนบุคคลผู้คบหาพระองค์ ให้ประกอบ ในการปฏิบัติชอบอย่างนี้คือ"ความเป็นผู้เลิศในโลกด้วยอามิสทานและธรรมทานนี้ เราประสบก่อนแล้ว, เพราะฉะนั้นแม้พวกท่าน ก็พึงปฏิบัติอย่างนี้เท่านั้นเถิด  ดังนี้.


            ๒.ปรตฺถมญฺชุสาย นาม วิสุทฺธิมคฺคสํวณฺณนาย มหาฎีกาสมฺมตาย ปฐโม ภาโค (มรณสฺสติ) ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๓๔๗-๓๔๘

(วิสุทฺธิ.ฎีกา ปรตฺถมญฺชุสา อนุสสติกัมมัฏฐานนิเทศ (มรณสติ) ภาค ๓ ฉบับภูมิพโลภิกขุ บาลี-ไทย หน้า ๒๐-๒๒)

            ตมฺพนขตุงฺคนขตาทิอสีติอนุพยญฺชนปฏิมณฺฑิเตหิ สุปติฏฺฐิตปาทตาทีหิ ทฺวตฺตึสาย มหาปุริสลกฺขเณหิ วิจิตฺโต อจฺฉริยพฺภูโต รูปกาโย เอตสฺสาติ อสีติ...รูปกาโย. สห วาสนาย สพฺเพสํ กิเลสานํ ปหีนตฺตาสพฺพาการปริสุทฺธสีลกฺขนฺธาทิคุณรตเนหิ สมิทฺโธ ธมฺมกาโย เอตสฺสาติ สพฺพา-การ...ธมฺมกาโย. ฐานโสติ ตํขเณเยว.

            เอวํ มหานุภาวสฺสาติ เอวํ ยถาวุตฺตรูปกายสมฺปตฺติยาธมฺมกายสมฺปตฺติยา จ วิฺายมานวิปุลาปริเมยฺยพุทฺธานุภาวสฺส, ; วสํนาคตํ อนุรูปคมนวเสนาติ อธิปฺปโย.

            ชื่อว่า ผู้ทรงมีพระรูปกายอันวิจิตร...๘๐ ประการ เพราะอรรถว่า ทรงมีพระรูปกายเป็นของน่าอัศจรรย์  วิจิตรด้วยพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ มีภาวะที่พระบาททั้ง ๒ ตั้งมั่น ราบเรียบดีเป็นต้น อันประดับ แล้วด้วยพระอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ มีความเป็นผู้มีพระนขาแดง มีพระนขายาวเป็นต้น. ชื่อว่า ผู้ทรงมีพระธรรมกาย...โดยอาการทั้งปวง เพราะ อรรถว่า  ทรงมีพระ-ธรรมกายอัน  สัมฤทธิ์ด้วยคุณรัตนะมีสีลขันธ์เป็นต้น อันบริสุทธิ์โดยอาการทั้งปวง เพราะทรงละกิเลสทั้งปวง พร้อมทั้งวาสนาได้แล้ว. บทว่า ฐานโส (โดยพลัน) คือในขณะนั้นนั่นเอง.
            คำว่า ผู้ทรงมีพระอานุภาพมากอย่างนี้ คือผู้ทรงมีพระพุทธานุ-ภาพมาก ไม่อาจประมาณได้ อันบุคคลรู้ได้ ด้วยพระรูปกายสมบัติตามที่ได้กล่าวแล้ว และพระธรรมกายสมบัติอย่างนี้ อธิบายว่าไม่เข้าไปสู่อำนาจ(ของความตาย)ด้วยอำนาจการไม่เข้าไปสู่อำนาจของความตาย


            ๓.ปรตฺถมญฺชุสาย  นาม วิสุทฺธมคฺคสํวณฺณนาย  มหาฎีกาสมฺมตาย ปฐโม ภาโค พรรณนาอารุปปนิเทศ (ปกิณกกถา) ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๔๙๑

            (วิสุทฺธิ.ฎีกา ปรตฺถมญฺชุสา พรรณนาอารุปปนิเทศ (ปกิณกกถา) ภาค ๓ ฉบับภูมิพโลภิกขุ บาลี-ไทย หน้า ๔๙๗-๔๙๘)

             อสทิสรูโปติ ทฺวตฺตึสมหาปุริสลกฺขณอสีติอนุพฺยญฺชนพฺยามปฺปภาเกตุมาลาทีหิ รูปคุเณหิ อฺภญฺหิ อสาธารณรูปกาโย, สภาวฏฺโฐ วา รูปสทฺโท"ยํ โลเก ปิยรูปํ สาตรูปนฺ ติอาทีสุ วิย. ตสฺมา อสทิสรูโปติ อสทิสภาโว, เตน ทสพลจตุเวสารชฺชาทิคุณวิเสสมาโยคทีปนโต สตฺถุ  ธมฺมกายสมฺปตฺติยาปิ อสทิสตา ทสฺสิตา โหติ. อิตีติ เอวํ วุตฺตปฺปกาเรน. ตสฺมินฺติ อารุปฺเป. ปกิณฺณกถาปิ วิฺภญฺยฺยาติ ปุพฺเพ วิย อสาธารณํ ตตฺถ ตตฺถ ฌาเน ปฏินิยตเมว อตฺถํ อคฺคเหตฺวา สาธารณภาวโต ตตฺถ ตตฺเถว ปกิณฺณกํ วิสฏํ อตฺถํ คเหตฺวา ปวตฺตา ปกิณฺณกถาปิ วิชานิตพฺพา.

            ๒๘๘. คำว่า ผู้มีพระรูปกายหาผู้เสมอเหมือนมิได้ คือผู้มีพระรูปกายอันไม่สาธารณะด้วยบุคคลอื่น ด้วยคุณแห่งรูปทั้งหลาย มีพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ พระอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ พระเกตุมาลา ที่มีรัศมีแผ่ไปประมาณ ๑ วาเป็นต้น, อีกอย่างหนึ่ง ศัพท์ว่า รูป มีอรรถว่าสภาวะ ดุจในประโยคว่า  สภาวะที่ น่ารัก สภาวะที่น่ายินดี อันใดในโลก  ดังนี้เป็นต้น. เพราะฉะนั้นบทว่า อสทิสรูโป แปลว่าผู้มีสภาวะที่หาผู้เสมอเหมือนมิได้ (ก็ได้), ด้วยคำนั้น เป็นอันท่านอาจารย์แสดงถึงความที่ทรงเป็นบุคคลผู้หาผู้เสมอเหมือนมิได้ แม้ด้วยพระธรรมกายสมบัติ โดยการแสดงความประกอบชอบด้วยคุณวิเศษทั้งหลายมีพระทศพลญาณ พระจตุเวสารัชญาณเป็นต้นแห่งพระศาสดา. ศัพท์ว่า อิติ แปลว่าอย่างนี้ คือโดยประการที่กล่าวแล้ว. บทว่า ตสฺมึ ได้แก่ในอรูป. คำว่า ก็พึงทราบปกิณกกถาไว้บ้าง คืออย่าได้ถือเอาอรรถอันไม่สาธารณะ คือประจำเฉพาะ ในฌานนั้นๆ เหมือนอย่างในตอนต้นเท่านั้น พึงทราบปกิณกกถาอันเป็นไปถือเอาอรรถ อันเป็นปกิณกะคือ เรี่ยรายไปในฌานนั้นๆ นั่นเทียว โดยความเป็นอรรถสาธารณะบ้างเถิด.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น