หลวงปู่เคยพูดถึงความสำคัญของ
“ธรรมกาย” อยู่เสมอ
ๆ ว่า
“...อานุภาพธรรมกายเปรียบประหนึ่งปุ๋ยที่บำรุงต้นไม้ให้เจริญงอกงาม
การปลูกต้นไม้ให้ได้ดอกผลตามที่เราต้องการนั้นเราจะปลูกโดยไม่รดน้ำพรวนดิน
และใส่ปุ๋ยนั้นไม่ได้
เพราะต้นไม้จะไม่งอกงามให้ดอกผลตามที่เราต้องการ
ชีวิตมนุษย์ก็เช่นกัน
ถ้าอยากให้เจริญรุ่งเรืองก็ต้องทำตนให้เข้าถึงธรรมกาย
ต้นไม้ก็ต้องใส่ปุ๋ย
ชีวิตคนเราก็ต้องใส่ปุ๋ย...”
ด้วยเหตุนี้
การเผยแผ่วิชชาธรรมกายจึงเป็นสิ่งที่หลวงปู่ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง
สอนธรรมปฏิบัติด้วยตนเอง
หลวงปู่เปิดสอนธรรมปฏิบัติแก่พระภิกษุสามเณรอุบาสก
อุบาสิกา รวมทั้งประชาชนทั่วไป
อย่างจริงจัง และเนื่องจากท่านมีความชำนาญทั้งภาคปฏิบัติและปริยัติ
คือ
รู้แจ้งเห็นจริงในธรรมด้วยตนเองอย่างแจ่มชัด
และรู้พระบาลีแตกฉาน
ในระดับที่สามารถแปลคัมภีร์มูลกัจจายน์ได้หมดทุกตัวอักษร
ดังนั้นขณะสอนธรรมปฏิบัติ
ท่านจึงนำความรู้พระบาลีมาใช้ในการสอนด้วย
โดยเริ่มต้นยกพระบาลีพุทธพจน์ขึ้นแสดงก่อน
แล้วแปลและขยายความพระบาลี
ชี้แนวปฏิบัติภาวนาไปตามลำดับขั้นตอน
จนกระทั่งทำให้จิตผู้ฟังเป็นสมาธิ
น้อมใจไปตามคำเทศน์สอนของท่านได้
จากนั้นท่านก็จะบอกลำดับผลของปฏิเวธหรือผลการปฏิบัติธรรมในตัวที่จะเกิดขึ้น
ตามลำดับขั้นตอนไว้ล่วงหน้าตั้งแต่ผลที่เกิดในกายมนุษย์จนกระทั่งกายธรรมอรหัต
หมดกิเลสเป็นพระอรหันต์
เป็นผลการปฏิบัติภาวนาในตัวที่พิสูจน์ได้ว่าการตรัสรู้ของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีจริงมนุษย์ธรรมดาสามารถหมดกิเลสเป็นพระอรหันต์ได้จริง
ผู้เรียนมีหน้าที่กำหนดใจตามที่ท่านบอก
ส่วนใครจะมีผลการปฏิบัติธรรมถึงขั้นไหน
ย่อมรู้ได้ด้วยตนเองสอนธรรมปฏิบัติด้วยตนเอง
เนื่องจากบทเทศน์สอนของหลวงปู่เพียบพร้อมสมบูรณ์ทั้งด้านปริยัติ
ปฏิบัติ ปฏิเวธ
ผู้ที่เคยไปเรียนการทำสมาธิภาวนากับท่าน
จึงต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า
ไม่ว่าหลวงปู่จะเทศน์กี่ครั้งหรือกี่เรื่องก็ตาม
ท่านสามารถเชื่อมโยงจากภาคปริยัติ
เข้าสู่ภาคปฏิบัติ
จากภาคปฏิบัติเข้าสู่ภาคปฏิเวธ และจากภาคปฏิเวธสู่ภาคเทศนา
ได้อย่างน่าอัศจรรย์
จึงทำให้ผู้เรียนได้รับผลดีของการปฏิบัติเป็นจำนวนมาก
รวมแล้วเป็นเรือนแสน
กิตติศัพท์ในด้านการสอนภาวนาของท่านโด่งดังข้ามทวีปไปยังหลาย
ๆ ประเทศในยุโรป
เป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาขจรขจายกว้างไกลออกไปอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน
ในประวัติศาสตร์ของวงการคณะสงฆ์ไทยจนกระทั่งมีชาวต่างชาติบางคนเดินทางมาบวช
กับท่านถึงวัดปากน้ำ
ภาษีเจริญ เลยทีเดียว
อย่างไรก็ตาม
เมื่อวิชชาธรรมกายแพร่หลายออกไป
ก็มีผู้วิพากษ์วิจารณ์กันไปต่าง
ๆ นานา ในสมัยนั้น คำว่า“ธรรมกาย”
ยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย
เพราะวิชชาธรรมกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่หลวงปู่ค้นพบนั้น
มิได้มีผู้สอนมานานเกือบ
๒,๐๐๐ ปี ผู้ที่ไม่รู้จักจึงยกเอาคำนี้ขึ้นมาเสียดสี
โจมตี
หวังให้ผู้ที่สนใจวิชชาธรรมกายคลายความศรัทธา
แต่หลวงปู่ท่านไม่มีปฏิกิริยาใด ๆ เพียงแต่พูดว่า
“น่าสงสาร
พูดไปอย่างไร้ภูมิ ไม่มีที่มาเขาจะบัญญัติขึ้นได้อย่างไร เป็นถ้อยคำของคนเซอะ”
คราวหนึ่งท่านพูดกับสมเด็จพระวันรัต
วัดพระเชตุพนฯเกี่ยวกับการถูกโจมตีเรื่องธรรมกายว่า
“คนเช่นเราไม่ใช่ไร้ปัญญา ชั่วก็รู้
ดีก็เห็น เราจะฆ่าตัวเองเพราะความปรารถนาทำไม
ที่เขาพูดหาว่าเราอย่างนั้น
บางคนคงจะไม่รู้จักคำว่า ‘ธรรมกาย’
มีอยู่ที่ไหน หมายเอาใคร
เขาอาศัยความไม่รู้มาว่าเราผู้ตั้งใจปฏิบัติดี
ปฏิบัติชอบ เมื่อผู้ไม่รู้มาติเตียนเรา
ความไม่รู้ของเขาจะลบล้างสัจธรรมของพระพุทธศาสนาได้อย่างไร
ถ้าจะกลบก็กลบได้เพียงชั่วคราว
ไม่ช้าดวงแก้วของพระพุทธศาสนาก็จะเปล่งรัศมี
ให้ผู้มีปัญญาเห็นด้วยสายตาของตนเอง
การที่เขานำไปพูดเช่นนั้นเป็นผลแห่งการปฏิบัติ
ที่เราได้กระทำกันอยู่
แสดงให้เห็นว่าคณะวัดปากน้ำไม่ได้กินแล้วนอน
เป็นสำนักที่เคร่งในการปฏิบัติธรรม
การที่เขานำไปพูดเช่นนั้น เท่ากับเอาสำนักไปเผยแพร่
ดีเสียกว่าการโฆษณาทางหนังสือพิมพ์
เพราะการที่เขานำไปพูดนั้น เป็นการกระทำของผู้พูดเอง
เราไม่ได้จ้างไม่ได้วานใคร
เมื่อพูดทางไม่ดีได้ ก็ต้องมีคนพูดทางดีได้เหมือนกัน
ธรรมะจะต้องชนะอธรรมเสมอ
เราไม่เดือดร้อนใจเพราะธรรมกายของพระพุทธศาสนา
เป็นของแท้ ไม่ใช่ของเก๊หรือของเทียม
ธรรมกายจะปรากฏเป็นความจริง
แก่ผู้เข้าถึงธรรม
เรื่องอย่างนี้เราไม่หวั่น เราเชื่อในคุณพระพุทธศาสนา”
(จากชีวประวัติของพระมงคลเทพมุนี
หลวงพ่อวัดปากน้ำ และอานุภาพธรรมกาย)
ส่งลูกศิษย์ออกเผยแผ่
นอกจากสอนธรรมปฏิบัติด้วยตนเองแล้ว หลวงปู่ยังส่งพระภิกษุสามเณร
และแม่ชี
ที่มีความสามารถออกไปเผยแผ่วิชชาธรรมกายทั้งในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย
และในต่างประเทศในประเทศไทย
ศิษย์ของท่านประสบความสำเร็จในการเผยแผ่เป็นอย่างยิ่ง คือสามารถสร้างความศรัทธาเลื่อมใสแก่ประชาชน
ทำให้พระภิกษุ สามเณร และฆราวาส
จากจังหวัดต่าง ๆ
มีศรัทธาเดินทางไปปฏิบัติธรรมขั้นสูงเพิ่มเติมที่วัดปากน้ำเป็นจำนวนมาก
และยังสามารถสร้างวัดได้หลายวัด เช่น วัดเกษมจิตตาราม จังหวัดอุตรดิตถ์
วัดปากน้ำเทพาราม
อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
วัดเขาพระ อำเภอเขาย้อย
จังหวัดเพชรบุรี เป็นต้น
แม้ในต่างประเทศ
ท่านก็ส่งพระภิกษุชาวอังกฤษ กปิลวฑฺโฒ ภิกฺขุ
หรือศาสตราจารย์วิลเลียม
ออกัสต์ เปอร์เฟิสต์ (Dr.William August
Purfurst)
อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในลอนดอน
และพระภิกษุชาวญี่ปุ่นที่มาบวชที่วัดปากน้ำ
และได้ศึกษาวิชชาธรรมกายแล้วกลับไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทวีปยุโรปและ
ประเทศญี่ปุ่นตามลำดับ ในปี
พ.ศ. ๒๔๙๘ กปิลวฑฺโฒ ภิกฺขุ เดินทางกลับ
มาวัดปากน้ำอีกครั้งหนึ่ง
และนำสามเณรชาวอังกฤษ ๓ รูป ซึ่งบรรพชาเป็นสามเณรมาแล้ว
จากประเทศอังกฤษ มาศึกษาวิชชาธรรมกายกับหลวงปู่
ซึ่งหลวงปู่ท่านก็เมตตาอุปสมบทให้ทั้ง
๓ รูป รวมพระภิกษุชาวยุโรปที่จำพรรษา
อยู่ที่วัดปากน้ำสมัยนั้น
๔ รูป แม้การเผยแผ่คำสอนในยุคนั้นจะเป็นไปได้อย่างเชื่องช้า
กว่าปัจจุบัน
เพราะการคมนาคมและการสื่อสารยังไม่เจริญก้าวหน้า
แต่ก็มีผู้ปฏิบัติธรรมเข้าถึงพระธรรมกายเข้าถึงกายต่าง
ๆ และเข้าถึงดวงปฐมมรรค
เป็นจำนวนมากและบุคคลเหล่านี้ได้มาลงชื่อในสมุดที่หลวงปู่ให้จัดไว้ที่วัดปากน้ำ
เพื่อเป็นหลักฐานและสักขีพยานในการเข้าถึงธรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น