วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
เป็นสถานที่ที่หลวงปู่ทำวิชชาและปักหลักเผยแผ่
พระพุทธศาสนา
วิชชาธรรมกาย ตลอดชีวิต และเป็น ๑ ใน ๖ ของสถานที่ประดิษฐาน
รูปหล่อทองคำพระมงคลเทพมุนี
เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
ราวกลางปี พ.ศ. ๒๔๖๑
(กลางรัชกาลที่ ๖) สมเด็จพระวันรัต (เผื่อน ติสสทัตตมหาเถระ)
วัดพระเชตุพนฯ
พระอาจารย์องค์หนึ่งของหลวงปู่ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็น
เจ้าคณะอำเภอภาษีเจริญ
จังหวัดธนบุรีเล็งเห็นความเป็นผู้นำของหลวงปู่
จึงแต่งตั้งให้หลวงปู่เป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ
ภาษีเจริญ ซึ่งเป็นพระอารามหลวงเก่าแก่
สถาปนาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
หลวงปู่เดินทางจากวัดพระเชตุพนฯ
ไปยังวัดปากน้ำภาษีเจริญ
โดยเรือยนต์หลวงของกรมการศาสนา และมีพระอนุจร
(พระลูกวัด, ผู้ติดตาม) ไปด้วย ๔ รูปเมื่อไปถึงวัดปากน้ำ
หลวงปู่ก็พบว่า
วัดปากน้ำอยู่ในสภาพที่ชำรุดทรุดโทรมมาก
เป็นกึ่งวัดร้าง และมีพระภิกษุประจำวัดอยู่ ๑๓ รูป
พัฒนาวัด
ในการพัฒนาวัดในทัศนะของหลวงปู่ก็คือการพัฒนาประเทศชาติ
ถ้าวัดสะอาดสะอ้าน
เจริญตาเจริญใจ บุคคลากรในวัดมีระเบียบวินัย
คนก็อยากจะเข้าวัด
เมื่อเข้าวัดแล้วก็จะได้พัฒนาจิตใจให้สูงขึ้น
และเมื่อประชาชนอยู่ในศีลในธรรม
สังคมประเทศชาติก็จะสงบสุขไปโดยปริยาย
ในระยะแรก
การบริหารและพัฒนาวัดของหลวงปู่ไม่ราบรื่นนัก
เนื่องจากพระภิกษุที่อยู่มาก่อนยังไม่ให้ความร่วมมือและชาวบ้านแถบนั้นมีอัธยาศัยเป็นนักเลง
แต่หลวงปู่ท่านมีนิสัยของนักพัฒนา
ท่านชอบความเจริญก้าวหน้า
และชอบทำตนให้เป็นประโยชน์
ดังที่ท่านมักกล่าวว่า
“อยู่ที่ไหนก็ให้ทาน
บริจาคทานเรื่อยไป ไม่ทำอะไรก็สอนหนังสือหนังหา สงเคราะห์อนุเคราะห์กุลบุตร”
ดังนั้นไม่ว่าจะมีอุปสรรคอย่างไร
ท่านก็ไม่ย่อท้อ มุ่งมั่นที่จะทำนุบำรุงวัดปากน้ำขึ้นมาใหม่
โดยให้ความสำคัญแก่การสร้างคนให้เป็นคนดีเป็นหลัก
ส่วนการก่อสร้างเสนาสนะ
หรือสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น
ๆ ล้วนเป็นไปเพื่อสนับสนุนการสร้างคนทั้งสิ้น
แนวทางในการสร้างคนของหลวงปู่
คือ ให้การศึกษาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ พัฒนาสติปัญญา
ควบคู่ไปกับการพัฒนาจิตใจโดยการเจริญสมาธิภาวนาสำหรับพระภิกษุสามเณร
หลวงปู่ท่านก็ให้การอบรมสั่งสอนและดูแลอย่างใกล้ชิด
ให้เจริญสมาธิภาวนา
และฝึกฝนอบรมตนเองตามพระธรรมวินัย
นอกจากนี้ ท่านยังสนับสนุนพระภิกษุสามเณร
ให้ศึกษาทั้งด้านปริยัติและปฏิบัติ
ไม่ปล่อยให้อยู่ว่าง ๆ ใครไม่ศึกษา ไม่ปฏิบัติ
ก็ให้ทำหน้าที่อื่น หลวงปู่ท่านตั้งใจพัฒนาวัดปากน้ำ
ภาษีเจริญ
จนกระทั่งกลายเป็นอารามหลวงที่สำคัญและใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง
มีพระภิกษุสามเณรและอุบาสกอุบาสิการวมแล้วเป็นจำนวนนับพัน
ไหวสิน่า
ในเรื่องความเป็นอยู่ของสมาชิกในวัด
หลวงปู่ให้สร้างกุฏิที่พักสำหรับพระภิกษุสามเณร
อย่างเพียงพอ และมีเครื่องอำนวยความสะดวกพอควรแก่ภาวะของนักบวช
พระภิกษุสามเณรที่เข้ามาอยู่ในบารมีธรรมของท่าน
ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เลย
ท่านดูแลทุกอย่าง
ตั้งแต่เครื่องนุ่งห่มสบง จีวร นอกจากนี้ท่านยังให้ตั้งโรงครัว
เพื่อรับภาระเรื่องการขบฉัน
ทำให้พระภิกษุสามเณรไม่ต้องกังวลเรื่องภัตตาหารแต่อย่างใด
จะได้มีเวลาศึกษาและปฏิบัติธรรมอย่างเต็มที่
หลวงปู่ท่านเลี้ยงพระมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๑
จนกระทั่งมรณภาพ
ทำให้วัดปากน้ำในสมัยนั้นมีพระภิกษุสามเณรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
เพิ่มจาก ๒๐-๓๐ รูป ไปจนถึง ๕๐๐ กว่ารูป
สมดังที่ท่านได้ปฏิญาณในพระอุโบสถ
เมื่อครั้งที่เข้ามาปกครองวัดปากน้ำว่า
“บรรพชิตที่ยังไม่มาขอให้มา ที่มาแล้วขอให้อยู่เป็นสุข”
เมื่อใครพูดถึงจำนวนพระภิกษุสามเณรว่ามากเกินไป
ท่านจะหัวเราะด้วยความดีใจแล้วพูดว่า
“เห็นคุณพระศาสนาไหมล่ะ” และท่านไม่เคยกลัวว่าจะเลี้ยงไม่ไหว
ได้
แต่พูดว่า “ไหวสิน่า”
แต่พูดว่า “ไหวสิน่า”
สร้างโรงเรียน
สร้างโรงเรียนราษฎร์สำหรับเด็กชาวบ้านหลวงปู่ท่านเห็นว่าในละแวกนั้นมีเด็ก
ๆ
ที่ไม่ได้เรียนหนังสือเป็นจำนวนมาก
เด็กพวกนี้มักมาวิ่งเล่นส่งเสียงเอะอะในวัด
บางทีก็มายิงนกกัน
เมื่อท่านเห็นเด็กพวกนี้แล้ว ท่านก็ปรารภว่า
“เด็ก ๆ
ที่ไร้การศึกษาเป็นคนรกชาติ มาเที่ยวรังแกวัด ต่อไปก็กลายเป็นพาล”
ด้วยความเมตตาท่านจึงดำริให้ตั้งโรงเรียนขึ้น
เพื่ออนุเคราะห์ให้เด็ก ๆ ได้รับการศึกษา
โดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน
ซึ่งปรากฏว่าได้รับการสนับสนุนจากผู้มีจิตศรัทธาจำนวนมาก
ทางราชการก็ส่งเสริม
ทำให้ชาวบ้านแถบนั้นซาบซึ้งในอุปการคุณของท่านเป็นอย่างยิ่ง
ต่อมาเมื่อทางราชการจัดตั้งโรงเรียนตามพระราชบัญญัติประถมศึกษา
ท่านจึงยกเลิกงานด้านนี้
และหันมาดูแลเรื่องการศึกษานักธรรมและบาลี
สร้างโรงเรียนปริยัติธรรม
สำหรับการเรียนของพระภิกษุสามเณรนั้น
ท่านจัดให้มีการเรียนการสอนนักธรรม
และบาลีประจำสำนัก โดยจัดหาครูมาให้
และให้สร้างโรงเรียนปริยัติธรรม
เป็นอาคาร๓ ชั้น
จุผู้เรียนได้นับพัน สองชั้นล่างสำหรับเรียนปริยัติ ชั้นบนจัดเป็นห้องโถงสำหรับปฏิบัติธรรม
มีห้องน้ำทุกชั้น มีไฟฟ้า มีพัดลม มีเครื่องตกแต่งอาคารครบถ้วน
และมีอุปกรณ์การศึกษาพร้อมบริบูรณ์
ช่วยให้พระภิกษุสามเณร
มีที่ศึกษาเล่าเรียนที่สะดวกสบายและทันสมัยอาคารหลังนี้ได้ชื่อว่าเป็นตึกที่ทันสมัยที่สุด
ในแถบนั้น
สิ้นค่าก่อสร้างถึง ๒ ล้าน ๕ แสนกว่าบาท นับว่าเป็นเงินจำนวนมหาศาล
ในสมัยนั้นเมื่อโรงเรียนสร้างเสร็จสมบูรณ์
ทางคณะสงฆ์ก็มาใช้อาคารหลังนี้เป็นสนามสอบนักธรรมและธรรมศึกษาสำหรับอำเภอภาษีเจริญเป็นประจำทุกปี
โดยหลวงปู่ได้จัดเลี้ยงภัตตาหารเพลแก่พระภิกษุสามเณรที่มาสอบด้วย
นอกจากสนับสนุนการศึกษาของพระภิกษุสามเณรวัดปากน้ำแล้ว
หลวงปู่ท่านยังเป็นกำลังสำคัญของพระพิมลธรรม
(ช้อย ฐานทัตโต ป.ธ.๙)
ในการหาทุนเพื่อก่อตั้งสถาบันการศึกษาชั้นสูงของคณะสงฆ์ไทย
คือ
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
หรือ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในปัจจุบัน
ทำงานทางใจ
แม้หลวงปู่ท่านจะสนับสนุนงานในด้านต่าง
ๆ จนกระทั่งทำให้วัดปากน้ำ
มีความเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น
แต่งานที่หลวงปู่ให้ความสำคัญและให้เวลามากที่สุด คือ
งานทำสมาธิเจริญภาวนา
ซึ่งเป็นการทำงานทางใจที่มีเป้าหมายในการกำจัดกิเลสอาสวะ
อันเป็นเหตุแห่งความทุกข์และความเบียดเบียนให้หมดสิ้นไป
และในขณะเดียวกันท่านก็ใช้
วิชชาธรรมกายช่วยแก้ไขความทุกข์ยากเดือดร้อนของเพื่อนมนุษย์ด้วย
ทุก ๆ วัน
หลวงปู่จะบำเพ็ญกิจภาวนาพร้อมกับพระภิกษุสามเณร แม่ชี และอุบาสิกา
ในโรงงานทำวิชชา*
*สถานที่ศึกษาวิชชาธรรมกายชั้นสูง
ศึกษาตลอด ๒๔ ชั่วโมง โดยแบ่งผู้ทำวิชชา
เป็นผลัดเหมือนการทำงานเป็นกะของโรงงาน
ซึ่งเป็นกุฏิหลังใหญ่แบ่งเป็น
๒ ห้อง ห้องหนึ่งเป็นห้องของหลวงปู่กับพระอีกประมาณ ๓๐ รูป
ส่วนอีกห้องหนึ่งเป็นห้องของแม่ชีและอุบาสิกาที่ถือศีล
๘ ราว ๆ ๓๐ คน
ผู้ที่อยู่ในห้องทั้งสองต่างมองไม่เห็นกัน
ที่ผนังกั้นระหว่าง ๒ ห้อง มีช่องเล็ก ๆ
ไว้สำหรับหลวงปู่สั่งงานการทำวิชชาสมัยนั้น
ในยามปกติจะทำผลัดละ ๔ ชั่วโมง
โดยสับเปลี่ยนกันทำอย่างต่อเนื่องไม่มีหยุดตลอด
๒๔ ชั่วโมง แต่ในยามสงครามโลก
ทำวิชชาผลัดละ ๖ ชั่วโมง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น