ธรรมกาย
ในพระปฐมสมโพธิกถา 1
พระปฐมสมโพธิกถา
ฉบับพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
(พระราชโอรสในรัชกาลที่ ๑) ซึ่งได้ทรงรจนาถวายฉลองพระราชศรัทธา
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามที่ได้ทรงอาราธนา เมื่อพุทธศักราช ๒๓๘๗
สมเด็จพระมหาสมณเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเป็นรัตนกวีศรีประเทศได้ทรงนิพนธ์เรื่องต่างๆ
ไว้เป็นอันมาก ซึ่งล้วนแต่เป็นอมตะทั้งนั้น พระนิพนธ์ปฐมสมโพธิกถา
ก็เป็นอมตะเช่นเดียวกัน
พระปฐมสมโพธิกถานี้ เป็นสมบัติอันล้นค่าของวงการพระ-พุทธศาสนาในประเทศไทย
และของชนชาติไทย สมบูรณ์ด้วยสมบัติแห่งวรรณคดี จะพิจารณาในด้านการนิพนธ์
จะศึกษาในทางภาษา จะหาความรู้ในทางพระ-ประวัติของพระพุทธเจ้า
จะพิเคราะห์ในทางกวีโวหาร โดยเฉพาะเทศนาโวหาร ก็มีอยู่ทุกประการ
ทั้งมีโอชารสแห่งพากย์นิพนธ์ ครบทุกรสตามแบบแห่ง อลังการศาสตร์ มิได้บกพร่องเลย
กล่าวได้ว่า เป็นอนรรฆมณีดวงหนึ่ง ในวรรณคดีของชาติไทย
จัดพิมพ์ครั้งที่ ๑ ฉบับภาษาไทย
จำนวน ๑๐,๐๐๐ ฉบับ พ.ศ. ๒๕๐๕
โดยคณะผู้จัดทำได้พยายามสอบทานชำระกับต้นฉบับภาษาบาลี
ซึ่งก็เข้าใจว่าเป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าพระองค์นั้น
จะทรงเป็นภาษาบาลีก่อนแล้วจึงทรงแปล หรือจะทรงแปลก่อนแล้วจึงทรงกลับเป็นบาลี
ก็สุดแต่จะพิจารณา ได้ความเป็นพิเศษออกไปเป็นบางแห่ง
ซึ่งก็ได้ทำเชิงอรรถไว้ตามที่นั้นๆ
การสอบทานชำระ
ในครั้งนี้ทางองค์การศึกษาได้มอบหน้าที่ให้ พระมหานิยม ฐานิสฺสโร ป.๙
วัดราชบูรณะ พระมหาวีระ ภทฺทจารี
ป.๙ วัดราชนัดดาราม พระมหาธัญนพ
โชติปาโล ป.๙ วัดภาวนาภิรตาราม และนาวาอากาศเอกแย้ม ประพัฒน์ทอง ป.๙ อนุศาสนาจารย์กองทัพอากาศ
เป็นผู้ดำเนินการมาโดยตลอด ปัจจุบันพระปฐมสมโพธิกถา
ฉบับนี้ใช้เป็นแบบเรียนในหลักสูตรนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นเอก
หน้า ๕๔๖ มีปรากฏคำว่า ธรรมกาย
เป็นหลักฐาน จำนวน ๑ แห่งใน ตอนหนึ่งชื่อว่า มารพันธปริ-วรรต ปริจเฉจที่ ๒๘ ใจความสำคัญคือ เมื่อพุทธ- ศักราช ๒๑๘
มีพระมหาเถระองค์หนึ่งชื่อพระอุปคุตต์
ได้ทรงทรมานพระยาวัสวดีมารจนสิ้นพยศกลับมาเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย
และออกวาจาปรารถนา พุทธภูมิ หลังจากนั้น
พระอุปคุตต์มหาเถระประสงค์จะได้เห็นพระรูปกายของพระสัมมา-สัมพุทธเจ้า
จึงขอร้องให้พระยาวัสวดีมารซึ่งเคยได้เห็นมาก่อน
เนรมิตพระรูปกายแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระอัครสาวกให้ดู
ซึ่งใจความตอนนี้ ความว่า...
...เมื่อพระพุทธองค์ได้ทรงบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
และประกาศพระพุทธศาสนา จนกระทั่งเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน
ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุไปแล้ว ก็มีพระมหาเถระองค์หนึ่ง
ชื่อพระอุป-คุตต์มหาเถระได้มีโอกาสทรมานพระยามารจนสิ้นพยศ กลับมาเป็น สัมมาทิฏฐิ และมีความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย
จึงเปล่งวาจาปรารถนา พุทธภูมิตามที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงพยากรณ์ไว้
พระ- อุปคุตต์มหาเถระนั้น มิได้เคยเห็นพระวรกายเนื้อของพระพุทธองค์มาก่อน
และประสงค์จะได้เห็น จึงขอร้องให้พระยามาร ซึ่งได้เคยเห็นสมเด็จ-พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาก่อน
ให้เนรมิตพระวรกายเนื้อแห่งสมเด็จพระ-สัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมด้วย พระอัครสาวกให้ดู
มีความว่า
...อนึ่งท่าน (พญามาร)
จงได้อนุเคราะห์แก่อาตมา (พระอุปคุตต์)
ด้วยสมเด็จพระศาสดาบังเกิดในโลก เสด็จเข้าสู่ปรินิพพานเสียแล้วเราได้เห็นแต่พระธรรมกาย (หมายถึงพระธรรมกายของพระอุปคุตต์มหาเถระ
ซึ่งได้เข้าไปเห็นพระธรรมกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในพระนิพพาน)
บ่มิได้เห็นซึ่งพระสรีรกาย ท่านจงสงเคราะห์ นฤมิตพระรูปกายแห่งพระ-ศาสดาจารย์
พร้อมด้วยอาการทั้งปวง สำแดงแก่เราให้เห็นประจักษ์กับทั้งพระอัครสาวกทั้งคู่ให้ปรากฏ
ด้วยฤทธิ์แห่งท่าน กาลบัดนี้...
(ดูฉบับสมบูรณ์ที่ภาคผนวก
หน้า ผ๑๑๘-ผ๑๑๙)
เป็นที่น่าสังเกตว่า พระปฐมสมโพธิกถา
ฉบับนี้ รจนาขึ้นตั้งแต่ปี ๒๓๘๗
แต่ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมนักของผู้ที่ศึกษาธรรมศึกษาและนัก-ธรรมทั้งๆ
ที่รจนามาก่อนปฐมสมโพธิของสมเด็จพระสังฆราช
(ปุสฺสเทว) และสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ธรรมกาย ในพระปฐมสมโพธิ 2
พระปฐมสมโพธิ
เป็นหนังสือที่แต่งไว้สำหรับเทศนา ต้นฉบับดั้งเดิมไม่ทราบว่าพิมพ์ขึ้นตั้งแต่
พ.ศ.อะไร แต่ที่กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ได้พบและใช้เป็นแบบเรียนสมัยรัชกาลที่ ๕ คือ
ฉบับปีพุทธศักราช ๒๔๑๙ และอีกฉบับหนึ่งปี ๒๔๔๕ ห่างกันถึง ๒๖ ปี สมเด็จพระสังฆราช
(ปุสฺสเทว)
(ดูประวัติได้ในภาคผนวกหน้า
ผ๒๙๒) ได้นำมาเรียบเรียงทำเป็นหนังสือชื่อ
พระปฐมสมโพธิ
ในที่นี้จะกล่าวถึงหลักฐานที่พบคือในการพิมพ์ครั้งที่ ๒
ฉบับดั้งเดิมโดยในหนังสือพระปฐมสมโพธิ
ได้จัดแบ่งไว้เป็น ๒ ตอน ตอนที่ ๑
พิมพ์ปีพระพุทธศักราช ๒๔๖๕
มีกล่าวถึงการอุปบัติขึ้นของรูปกายและการอุปบัติขึ้นของธรรมกาย ๓ แห่ง ดังนี้
๑.ในคำปรารภ :
ชาติกถากัณฑ์ที่ ๑ หน้า ๖ ความว่า
....สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น
แม้ปรินิพพานนานกำหนดศาสนายุกาลถึงเท่านี้แล้ว ยังเหลืออยู่ส่วนรูปกาย
ด้วยสักว่าพระสารี-ริกธาตุยังดำรงอยู่
ส่วนธรรมกายด้วยพระหฤทัยอันอนุเคราะห์สัตว์
ซึ่งเป็นประชุมชนเกิดในกาลภายหลัง และยังทรงอยู่ด้วยพระคุณทั้งหลาย
ที่เป็นอนัญญสาธารณ
ไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น...
๒.ในคำปรารภ :
ชาติกถากัณฑ์ที่ ๑ หน้า ๑๔ ความว่า
...เอวํ อติทุลฺลภปาตุภาโว
แม้องค์พระตถาคตอังคีรสสักยมุนี-โคตมสัมมาสัมพุทธเจ้านี้
ซึ่งมีความปรากฏในโลก อันสัตว์ได้ด้วยยากดังนี้
พระองค์ได้อุปบัติบังเกิดขึ้นแล้วในโลก ด้วยรูปกายอุปบัติและธรรมกาย
อุปบัติทั้งสองประการ พร้อมด้วยอัจฉริยอัพภูตธรรม ตามธรรมดานิยมโดยพุทธธรรมดาฯ
ความบังเกิดขึ้นด้วยรูปกายนั้นจัดเป็นสอง คือ
โอกกันติสมัยลงสู่พระครรภ์ แลนิกขมนสมัยประสูติจากพระครรภ์ฯ
ส่วนความบังเกิดด้วยธรรมกายนั้น คือตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ-ญาณฯ...
๓.ในตอนตรัสรู้
อภิสัมโพธิกถา กัณฑ์ที่ ๒ หน้า ๘๑-๘๓
ความว่า" .. ครั้งนั้นหมื่นโลกธาตุนี้
ก็หวั่นไหวสะเทือนสะท้านทั้งแสงสว่างยิ่งไม่มีประมาณ ก็ได้ปรากฏเกิดมีในโลก
ล่วงเทวานุภาพของเทพยดาทั้งหลาย
ก็แลอัศจรรย์ทั้งหลายซึ่งสำเร็จโดยธรรมดานิยมเห็นปานใด ได้ปรากฏเกิดมีแล้วในโลก
เมื่อครั้งพระองค์ประสูติเปนกาลเกิดด้วยรูปกายอันบริบูรณ์นั้นฉันใด
แม้ถึงเมื่ออภิสัมโพธิสมัย ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
เปนการเกิดด้วยธรรมกาย นั้นเล่า สรรพอัศจรรย์ทั้งปวง
เห็นปานนั้น
ก็ได้ปรากฏเกิดมีแล้วฉันนั้นฯ เพราะว่า
ความที่มาปรากฏเปนชัดขึ้นก่อนในชาติความเกิดที่เปนโลกุตตร แลความที่โลกุตตรธรรมซึ่งไม่เปนไปสิ้นกาลนานแล้ว
แลมาปรากฏเปนชัดขึ้นก่อนในมนุษย์โลกนี้
เปนชาติความเกิดด้วยธรรมกายแห่งสมเด็จพระผู้ทรงพระภาคเจ้านั้น เปนมหัศจรรย์ลบล้นล่วงคุณพิเศษอื่นทั้งปวง
เกิดมีขึ้นในโลกแล้ว ด้วยประการฉนี้ ฯ
เอตฺตาวตา มุนินฺทสฺส ปวตฺติทีปนา กถา
รูปกายุปฺปตฺติธมฺม- กายุปตฺติวสา อยํ
สทฺธาปสาทุปฺปาทาย สํเขปา ปริกิตฺติตา
ตอนที่ ๒ พิมพ์ปีพระพุทธศักราช
๒๔๖๖ ไม่มีการกล่าวถึง ธรรมกาย
ในการพิมพ์ครั้งที่ ๔ พุทธศักราช ๒๔๖๘ ชื่อหนังสือ ธรรม-สมบัติหมวดที่ ๑
พระปฐมสมโพธิแบบธรรมยุตต์ โดยมีสมเด็จพระ-สังฆราช (ปุสฺสเทว)
วัดราชประดิษฐสถิต-มหาสีมาราม เป็นผู้รจนา และพระเจ้าน้อง-ยาเธอกรมหมื่นวชิรญาณวโรรส
เป็นผู้ทรงเรียบเรียง เนื้อหา ใจความของพระ-ปฐมสมโพธิ ยังคงเดิมทุกประการ
ไม่มีการแบ่งเป็น ๒ ตอน มีการกล่าวถึงคำว่า
ธรรมกาย ๓ แห่ง
เช่นเดียวกัน
(ฉบับที่พิมพ์ครั้งที่
๒ เพียงแต่ต่างที่ตัวเลขหน้าเท่านั้น)
ในการพิมพ์ครั้งที่ ๘ พุทธศักราช
๒๔๘๒ ชื่อหนังสือ ปฐมสมโพธิ ธรรม-สมบัติหมวดที่ ๑
(หลักสูตรนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นตรี-เอก) โดยมีสมเด็จพระสังฆราช (ปุสฺสเทว)
เรียบเรียง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรม-พระยาวชิรญาณวโรรส (ดูประวัติของพระองค์
ได้ในภาคผนวกหน้า ผ๒๙๒) ทรงชำระเนื้อหา ใจความของพระ-ปฐมสมโพธิ
เหมือนเดิมทุกประการ มีการกล่าวถึงคำว่า
ธรรมกาย ๓ แห่ง
เช่นเดียวกับฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒ และฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๔
เพียงแต่ต่างที่ตัวเลขหน้าเท่านั้น
ฉบับพิมพ์หลังจากครั้งที่ ๘
ยังไม่เคยพบหลักฐานว่ามีการจัดพิมพ์ขึ้นใหม่ แต่พบว่าหนังสือปฐมสมโพธิ
ซึ่งเรียบเรียงโดยสมเด็จพระสังฆราช (ปุสฺสเทว)
ยังคงมีการจัดพิมพ์เป็นแบบเรียนพุทธประวัติเล่ม ๓ สำหรับหลักสูตรนักธรรม
และธรรมศึกษาชั้นตรี มีเนื้อหาเหลือเพียงบางส่วนคือ ตั้งแต่ปลงอายุสังขาร
จนจบถึงสังคายนาพระธรรมวินัย ซึ่งเนื้อหาก็ยังคงเหมือนฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒,๔,๘
แต่มีการตกแต่งวรรณยุกต์ให้อ่านง่ายขึ้น และจัดเนื้อหาเป็นเรื่องๆ ขึ้นใหม่
ส่วนแบบเรียนเล่ม ๑, ๒ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงพระนิพนธ์ขึ้นใหม่ เนื้อหายังคงเป็นเรื่องพุทธประวัติ
แต่หลักฐานที่มีคำว่า ธรรมกาย ไม่มีปรากฏในแบบเรียนพุทธประวัติ เล่ม ๑, เล่ม ๒
(ดูหลักฐานฉบับสมบูรณ์ในภาคผนวกหน้า
ผ๑๒๐-ผ๑๓๙)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น