ในหลักฐานชั้นฎีกา
มีปรากฏคำว่าธรรมกาย ๘ แห่ง โดยหลักฐานภาษาบาลีค้นจาก
ฉบับมหาจุฬาฯ ดังนี้
หลักฐานชั้นฎีกา
(ดูหลักฐานฉบับสมบูรณ์ที่ภาคผนวก หน้า
ผ๘๙-ผ๙๙)
๑.สารตฺถทีปนิยา นาม วินยฎีกา
(สมนฺตปาสาทิกาวณฺณนา ปฐโม ภาโค)
ตติยสงฺคีติกถาวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๑๕๖-๑๕๗
(วินย.ฎีกา.ตติยสงฺคีติกถาวณฺณนา
ฉบับมหาจุฬาฯ เล่ม ๑ หน้า ๑๕๖-๑๕๗)
อิทฺธิวิภาวนาธิการปฺปสงฺเคน เจตํ
วตฺถุ วุตฺตํ, นานุกฺกเมน.
อยํ เหตฺถ อนุกฺกโม:- อโสโก กิร มหาราชา อุปริวกฺขมานานุกฺกเมน สีหปฺปชเรน โอโลเกนฺโต นิโคฺรธสามเณรํ
อิริยาปถสมฺปนฺนํ
นาครชนนยนานิ
อากฑฺฒนฺตํ ยุคมตฺตํ เปกฺขมานํ ทิสฺวา ปสีทิตฺวา สญฺชาตเปโม สพหุมาโน
อามนฺตาเปตฺวา เสตจฺฉตฺตสฺส เหฏฺฐา สีหาสเน นิสีทาเปตฺวา โภเชตฺวา สามเณรสฺส วจนา
ทาเส ทิสฺสมานํ ทสพลสฺส ธมฺมกายํ
[ฉ.มหิดลคอมฯ เป็น ทสพลธมฺมกายํ] ทิสฺวา รตนตฺตเย ปสีทิตฺวา สปริโส สรณสีเลสุ ปติฏฺฐาย ตโต ปฏฺฐาย
อภิวฑฺฒมานสทฺโธ ปุพฺเพ โภชิยมานานิ ติตฺถิยสฏฺฐิสหสฺสานิ นีหริตฺวา ภิกฺขูนํ
สฏฺฐิสหสฺสานํ สุวกาหตสาลิสมฺปาทิตภตฺตํ
ปฏฺฐเปตฺวา เทวโตปนีตํ อโนตตฺตสลิลํ
นาคลตาทนฺตกฏฺฐญฺจ อุปนาเมตฺวา นิจฺจสํฆุปฏฺฐานํ กโรนฺโต เอกทิวสํ
สุวณฺณสงฺขลิกพนฺธนํ วิสฺสชฺเชตฺวา กาฬํ นาคราชานํ อานยิตฺวา เตนนิมฺมิตํ วุตฺตปฺปการํ
สิรีโสภคฺคสมฺปนฺนํ พุทฺธรูปํ ปสฺสนฺโต ทีฆปุถุลนิจฺจลนยนปฺปภาหิ สตฺตาหํ
อกฺขิปูชมกาสิ.
ก็เรื่องนั้น ท่านกล่าว
ไว้ด้วยความเกี่ยวข้องในอธิการ ว่าด้วยการอธิการเรื่องฤทธิ์
ไม่ใช่กล่าวไว้โดยลำดับความจริง ในอธิการนั้นมีลำดับ (ความ) ดังต่อไปนี้
ดังได้สดับมา พระเจ้าอโศก-มหาราช
เมื่อทรงทอดพระเนตร ทางสีหบัญชร (พระแกล)
โดยลำดับแห่งคำที่กล่าวไว้ข้างต้น ทรงเห็นนิโครธสามเณรผู้สมบูรณ์ด้วยอิริยาบถ
ผู้ฉุดดึงนัยนาของชาวพระนครทั้งหลาย ผู้แลดูที่ประมาณชั่วแอก
แล้วทรงเลื่อมใส
เกิดความรัก มีความนับถือท่วมท้น รับสั่งให้ราชบุรุษไปนิมนต์มาแล้ว
นิมนต์ให้นั่งบนสีหาสน์ภายใต้เศวตฉัตร
นิมนต์ให้ท่านฉันแล้ว ทรงเห็นพระธรรมกายของพระทศพล
ปรากฏอยู่ในแว่นคือคำพูดของสามเณร ทรงเลื่อมใสในพระรัตนตรัย
จึงทรงดำรงอยู่ในสรณะและศีล พร้อมทั้งบริษัท ตั้งแต่นั้นมา
ก็ทรงมีพระศรัทธาเพิ่มมากขึ้น จึงทรงไล่พวกเดียรถีย์ ๖๐,๐๐๐ คน ที่ทรงให้บริโภคให้ครั้งก่อนเสีย
แล้วทรงเริ่มจัดตั้งภัตร ที่ให้จัดเตรียมด้วยข้าวสาลี ที่นกแขกเต้านำมาถวาย
ให้น้อมนำน้ำจากสระอโนดาตที่เทวดานำมา และไม้ชำระฟันชื่อนาคลดา เข้าไปถวาย
แล้วทรงทำการบำรุงพระสงฆ์เป็นนิตย์ ทรงปล่อยสุวรรณสังขลิกพันธน์ไป
ให้นำกาฬนาคราชมาแล้ว ทรงทอดพระเนตรดู พระรูปแห่งพระพุทธเจ้า ซึ่งสมบูรณ์ด้วยความเลิศแห่งความงามคือพระสิริ
อันมีประการที่กล่าว ไว้แล้ว ซึ่งกาฬนาคราชนั้นเนรมิต
จึงได้ทรงทำการบูชาด้วยนัยน์ตา ตลอด ๗ วัน ด้วยแสงสว่างแห่งนัยน์ตาอันยาว
กว้าง
และไม่หวั่นไหว ฯ
๒.สารตฺถทีปนิยา นาม วินยฎีกา
(สมนฺตปาสาทิกาวณฺณนา ปฐโม ภาโค)
เวรญฺชกณฺฑวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๒๖๓
(วินย.ฎีกา.เวรญฺชกณฺฑวณฺณนา
ฉบับมหาจุฬาฯ เล่ม ๑ หน้า ๒๖๓)
ปฐมํ ลุมฺพินีวเน ทุติยํ โพธิมณฺเฑติ
ลุมฺพินีวเน รูปกาเยน ชาโต, โพธิมณฺเฑ
ธมฺมกาเยน. เอวมาทินาติ อาทิสทฺเทน เวรญฺชากิตฺตนโต รูปกายสฺส อนุคฺคณฺหนํ ทสฺเสติ, นเฬรุปุจิมนฺทมูลกิตฺตนโต ธมฺมกายสฺส. ตถา ปุริเมน ปราธีนกิริยากรณํ,
ทุติเยน อตฺตาธีนกิริยากรณํ. ปุริเมน วา กรุณากิจฺจํ, อิตเรน ปญฺญากิจฺจํ, ปุริเมน จสฺส ปรมาย อนุกมฺปาย
สมนฺนาคมํ, ปจฺฉิเมน ปรมาย อุเปกฺขาย สมนฺนาคมนฺติ เอวมาทึ
สงฺคณฺหาติ.
ข้อว่า ปฐมํ
ลุมฺพินีวเน ทุติยํ โพธิมณฺเฑ ความว่า พระพุทธเจ้า เกิดด้วย รูปกายที่สวนลุมพินี, เกิดด้วยพระธรรม-กายที่ควงต้นโพธิ์.
ด้วยศัพท์เป็นต้นว่า เอวมาทินา
คือย่อมแสดงการอนุเคราะห์ รูป-กาย
ด้วยคำระบุว่า เวรัญชา, แสดงการอนุเคราะห์พระธรรมกาย
ด้วยคำระบุว่า โคนสะเดา ชื่อ นเฬรุ.
เหมือนอย่างนั้น ท่านย่อมสงเคราะห์บทอย่างนี้ เป็นต้นว่า
แสดงกิริยาที่อาศัยผู้อื่น ด้วยบทแรก, แสดงกิริยาที่อาศัยตนด้วยบทที่สอง,
อีกอย่างหนึ่ง แสดงการกระทำด้วยพระกรุณา ด้วยบทแรก, แสดงการกระทำด้วยพระปัญญา
ด้วยบทนอกนี้, อนึ่ง
แสดงการประกอบพร้อมด้วยอนุเคราะห์อย่างยิ่ง ด้วยบทแรก, แสดงการประกอบพร้อม
ด้วยพระอุเบกขาอย่างยิ่ง ด้วยบทหลัง.
๓.สารตฺถทีปนิยา นาม วินยฎีกา
(สมนฺตปาสาทิกาวณฺณนา ปฐโม ภาโค)
เวรญฺชกณฺฑวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๓๘๗-๓๘๘
( วินย.ฎีกา.เวรญฺชกณฺฑวณฺณนา
ฉบับมหาจุฬาฯ เล่ม ๑ หน้า ๓๘๗-๓๘๘)
สตปุญฺญชลกฺขณธรสฺสาติ อเนกสตปุญฺยนิพฺพตฺตมหาปุริสลกฺขณธรสฺส. เอตฺถ
หิ"เกวลํ สตมตฺเตน ปุญฺญกมฺเมน เอเกกลกฺขณํ นิพฺพตฺตนฺ ติ อิมมตฺถํ น โรจยึสุ
อฏฺฐกถาจริยา"เอวํ สนฺเต โย โกจิ
พุทฺโธ ภเวยฺยา ติ, อนนฺตาสุ
ปน โลกธาตูสุ ยตฺตกา สตฺตา, เตหิ สพฺเพหิ ปจฺเจกํ สตกฺขตฺตุํ
กตานิ ทานาทีนิ ปุญฺญกมฺมานิ ยตฺตกานิ, ตโต เอเกกํ
ปุญฺญกมฺมํ มหาสตฺเตน สตคุณํ กตํ สตนฺติ อธิปฺเปตนฺติ อิมมตฺถํ โรจยึสุ. ตสฺมา อิธ
สตสทฺโท พหุภาวปริยาโย, น สงฺขฺยาวิเสสวจโนติ
ทฏฺฐพฺโพ"สตคฺฆํ สตํ เทวมนุสฺสา ติอาทีสุ วิย. รูปกายสมฺปตฺติ ทีปิตา
โหติ อิตราสํ ผลสมฺปทานํ มูลภาวโต
อธิฏฺฐานภาวโต จ. ทีปิตา โหตีติ อิทํ ธมฺมกายสมฺปตฺตีติอาทีสุปิ โยเชตพฺพํ. ตตฺถ
ปหานสมฺปทาปุพฺพกตฺตา ญาณสมฺปทาทีนํ ธมฺมกายสมฺปตฺติ ทีปิตา โหตีติ
เวทิตพฺพํ. โลกิยสริกขกานํ
พหุมตภาโวติ เอตฺถ ภาคฺยวนฺตตาย โลกิยานํ
พหุมตภาโว, ภคฺคโทสตาย สริกฺขกานํ พหุมตภาโวติ โยเชตพฺพํ. เอวํ อิโต ปเรสุปิ ยถากฺกมํ โยชนา
เวทิตพฺพา.
ปุญฺญวนฺตํ คหฏฺฐา ขตฺติยาทโย
อภิคจฺฉนฺติ, ปหีนโทสํ
โทส วิน-ยาย ธมฺมํ เทเสตีติ ปพฺพชิตา ตาปสปริพฺพาชกาทโย อภิคจฺฉนฺตีติ อาห คหฏฺฐปพฺพชิเตหิ อภิคมนียตา ติ. อภิคตานญฺจ
เตสํ กายจิตฺต-ทุกฺขาปนยเน ปฏิพลภาโว อามิสทานธมฺมทาเนหิ อุปการสพฺภาวโต รูปกายํ
ตสฺส ปสาทจกฺขุนา, ธมฺมกายํ ปญฺญาจกฺขุนา ทิสฺวา ทุกฺข
ทฺวยสฺส ปฏิปฺปสฺสมฺภนฺโตติ เวทิตพฺโพ. ภาคฺยวนฺตตาย อุปคตานํ อามิสทานํ เทติ, ภคฺคโทสตาย
ธมฺมทานํ เทตีติ อาห"อามิสทานธมฺม-ทาเนหิ อุปการิตา ติ. โลกิยโลกุตฺตรสุเขหิ
จ สํโยชนสมตฺถตา ทีปิตา โหตีติ ปุพฺเพ
อามิสทานธมฺมทาเนหิ มยา อยํ โลกคฺคภาโว อธิคโต, ตสฺมา
ตุเมฺหหิปิ เอวเมวปฏิปชฺชิตพฺพนฺ ติ เอวํ สมฺมาปฏิปตฺติยํ นิโยชเนน อภิคตานํ โลกิยโลกุตฺตรสุเขหิ สํโยชนสมตฺถตา จ
ทีปิตา โหติ.
คำว่า
ผู้ทรงไว้ซึ่งพระลักษณะอันบังเกิดเพราะบุญนับเป็นร้อย คือ
ผู้รุ่งเรืองด้วยพระ-มหาปุริสลักษณะ อันบังเกิดเพราะบุญหลายร้อย. ความจริง
ในข้อนั้น เหล่าพระอรรถ-กถาจารย์ ย่อมไม่ชอบใจเนื้อความนี้ว่า ลักษณะหนึ่งๆ
อันบังเกิด ด้วยบุญกรรมเพียงหนึ่งร้อย อย่างเดียว ดังนี้ ย่อมชอบใจเนื้อความนี้ว่า
เมื่อเป็นเช่นนั้น พระพุทธเจ้าบางพระองค์ ก็พึงมี ดังนี้ ก็ในโลกธาตุอันอนันต์
มีเหล่าสัตว์ประมาณเท่าใด บุญกรรมทั้งหลาย มีทานเป็นต้น มีประมาณเท่าใด
ที่หมู่สัตว์เหล่านั้น กระทำแล้วอย่างละ ๑๐๐ ครั้ง, บุญกรรมอย่างหนึ่งๆ จากบุญกรรมตั้งร้อยนั้น
อันพระมหาสัตว์กระทำแล้วคูณด้วยร้อย ท่านประสงค์ว่า ๑๐๐ ดังนี้ เพราะเหตุนั่น
ในที่นี้ สตศัพท์จึงเป็นการบรรยายว่า มาก, ไม่พึงเห็นว่า
เป็นคำวิเสสนบอกการนับ เหมือนในประโยคว่า เหล่าเทวดาจำนวนร้อย คือหนึ่งร้อย เป็นต้น.
เพราะความเป็นมูล และความเป็นที่ตั้งแห่งผลสัมปทาทั้งหลายนอกนี้
(คือพระรูปกายสัมปทา เป็นมูล และเป็นที่ตั้งแห่งพระญาณสัมปทา พระปหานสัมปทา
และพระอนุภาวสัมปทา) ย่อมเป็นอันแสดงพระรูปกายสมบัติด้วยว่า. บทว่า ทีปิตา โหติ นี้ถึงประดิบเข้าแม้ด้วยบทเป็นต้นว่า ธมฺมกายสมฺปตฺติ
ดังนี้. ในข้อนั้นพึงทราบว่า เพราะพระญาณสัมปทาเป็นต้น มีพระปหาน-
สัมปทาเป็นเบื้องต้น ย่อมเป็นอันแสดง พระธรรมกายสมบัติ ในข้อว่า
โลกิยสริกฺขกานํ พหุมตภาโว ดังนี้
พึงประกอบความว่า ด้วยความที่ทรงเป็นผู้มีพระภาคย์คือบุญบารมี
จึงเป็นอันแสดงความที่โลกิยชนนับถือมาก, ด้วยความเป็นผู้หักทำลายโทษ
เป็นอันแสดงความเป็นผู้ที่คนมีปัญญานับถือเป็นอันมาก.
พึงทราบการประกอบความตามลำดับ
แม้ในบทอื่นแต่บทนี้ด้วยประการอย่างนี้. พวกคฤหัสถ์ทั้งหลายมีกษัตริย์ เป็นต้น
ย่อมคบหาท่านผู้มีบุญ พวกคนมีปัญญาที่เป็นบรรพชิต ดาบส ปริพาชกเป็นต้น
ย่อมคบหาท่านผู้ละโทสะได้แล้ว
ด้วยคำว่า"พระองค์จะแสดงธรรมเพื่อกำจัดโทสะ
ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ความ เป็นผู้อันคฤหัสถ์
และบรรพชิตทั้งหลายพึงเข้าเฝ้า ดังนี้. อนึ่งพึงทราบว่า พวกคฤหัสถ์ทั้งหลาย
มีกษัตริย์เป็นต้น
ย่อมคบหาท่านผู้มีบุญ พวกคนมีปัญญา ที่เป็นบรรพชิต ดาบส
ปริพาชก เป็นต้น ย่อมคบหาท่านผู้ละโทสะได้แล้ว
ด้วยคำว่า"พระองค์จะแสดงธรรมเพื่อกำจัดโทษ
ดังนี้. อนึ่งพึงทราบว่า
ชื่อว่าเป็นอันแสดงความเป็นผู้มีอุปการะ ด้วยอามิสทานและธรรมทาน
แก่บุคคลผู้คบหาพระองค์เหล่านั้น ก็เพราะการที่เขาเห็นพระรูปกายด้วยปสาทจักษุ
เห็นพระธรรมกายด้วยปัญญาจักษุแล้ว ก็ระงับทุกข์ทั้ง ๒ ได้ ดังนี้.
พระองค์ย่อมให้อามิสทานแก่ผู้ที่เข้าไปหา เพราะพระองค์เป็นผู้มีส่วนแห่งบุญ,
พระองค์ย่อมให้ธรรมทาน เพราะพระองค์เป็นผู้มีโทสะอันกำจัดแล้ว
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ความที่พระองค์ทรงทำอุปการะด้วยอามิสทาน และธรรมทาน
ดังนี้. ชื่อว่า เป็นอันแสดงความเป็นผู้มีอุปการะด้วยอามิสทานและธรรมทาน แก่บุคคล
ผู้คบหาพระองค์เหล่านั้น ชื่อว่า
และเป็นอันแสดงความสามารถในการปฏิบัติชอบอย่างนี้คือ"ความเป็นผู้เลิศในโลกด้วยอามิสทาน
และธรรมทานนี้ เราประสบก่อนแล้ว
เพราะฉะนั้น แม้พวกท่าน ก็พึงปฏิบัติ
อย่างนี้เท่านั้นเถิด ดังนี้ ด้วยบทว่า
โลกิยโลกุตฺตรสุเขหิ สํโยชนสมตฺถตา จ ทีปิตฺา โหติ ดังนี้.
๔.สารตฺถทีปนิยา นาม
วินยฎีกา (สมนฺตปาสาทิกาวณฺณนา
ปฐโม ภาโค) เวรญฺชกณฺฑวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ
หน้า ๔๓๙
( วินย.ฎีกา.เวรญฺชกณฺฑวณฺณนา
ฉบับมหาจุฬาฯ เล่ม ๑ หน้า ๔๓๙)
สนฺตาเน ติ วุตฺตตฺตา อณฺฑสทิสตา
สนฺตานสฺส พหิ นิกฺขนฺต- กุกฺกุฏจฺฉาปกสทิสตา พุทฺธคุณานํ, พุทฺธคุณาติ จ อตฺถโต
พุทฺโธเยว"ตถาคตสฺส โข เอตํ วาเสฏฺฐ อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปี ติ วจนโต.
ความที่การสืบต่อเป็นเหมือนไข่ไก่
เพราะท่านกล่าวว่า สนฺตาเน ดังนี้
ความที่พระพุทธคุณทั้งหลาย เป็นเหมือนลูกไก่ตัวออกไปภายนอกได้ อนึ่ง คำว่า
พุทธคุณ โดยเนื้อแท้ได้แก่พุทธเจ้านั่นเอง เพราะพระดำรัสว่า ดูก่อนวาเสฏฐ คำว่า
ธรรมกาย นี้ เป็นชื่อของตถาคตแล
๕.สารตฺถทีปนิยา นาม วินยฎีกา
(สมนฺตปาสาทิกาวณฺณนา ทุติโย ภาโค) ทุติยปาราชิกกณฺฑวินีตวตฺถุวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ
หน้า ๒๐๓
(วินย.ฎีกา.ทุติยปาราชิก
วินีตวตฺถุวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ เล่ม ๒ หน้า ๒๐๓)
ธมฺมสนฺตเกน พุทฺธปูชํ กาตุํ, พุทฺธสนฺตเกน วา ธมฺมปูชํ กาตุํ วฏฺฏติ, น วฏฺฏตีติ?"ตถาคตสฺส โข เอตํ วาเสฏฺฐ อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปีติ จ โย โข วกฺกลิ ธมฺมํ ปสฺสติ,
โส มํ ปสฺสตี ติ [เชิงอรรถอ้าง สํ.ข.๑๗/๘๗/๙๖] จ วจนโต วฏฺฏตีติ
วทนฺติ.
ถามว่า
การที่บุคคลผู้มีธรรมกายในภายใน จะทำบูชาพระพุทธเจ้า หรือการที่บุคคลผู้เข้าถึงพระพุทธเจ้าในภายใน
จะทำการบูชาพระธรรมควร หรือไม่ควร ดังนี้
ตอบว่า ย่อมควร เพราะพระดำรัสว่า ดูก่อน
วาเสฏฐ คำว่า ธรรมกาย นี้ เป็นชื่อของตถาคตแล พระดำรัสว่า ดูก่อนวักกลิ
ผู้ใดเห็นธรรม
ผู้นั้นเห็นเราฯ
๖.สารตฺถทีปนิยา นาม วินยฎีกา (สมนฺตปาสาทิกาวณฺณนา- ตติโย
ภาโค) โสณกุฏิกณฺณวตฺถุกถาวณฺณนา
ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๓๖๒
(วินย.ฎีกา.โสณกุฏิกณฺณวตฺถุกถาวณฺณนา
ฉบับมหาจุฬาฯ เล่ม ๓ หน้า ๓๖๒-๓๖๓)
วสฺสํวุตฺถสฺสาติ วสฺสํ อุปคนฺตฺวา
วุสิตวโต. เอทิโส จ เอทิโส จาติ เอวรูโป จ เอวรูโป จ."เอวรูปาย นาม
รูปกายสมฺปตฺติยา สมนฺนาคโต,
เอวรูปาย ธมฺมกายสมฺปตฺติยา สมนฺนาคโต ติ สุโตเยว เม โส ภควา. น จ
มยา สมฺมุขา ทิฏฺโฐติ เอตฺถ ปน ปุถุชฺชนสทฺธาย เอว อายสฺมา โสโณ ภควนฺตํ ทฏฺฐุกาโม
อโหสิ. อปรภาเค ปน สตฺถารา สทฺธึ เอกคนฺธกุฏิยํ วสิตฺวา ปจฺจูสสมยํ อชฺฌิฏฺโฐ โสฬส
อฏฺฐกวคฺคิยานิ สตฺถุ สมฺมุขา อฏฺฐึ กตฺวา มนสิ กตฺวา สพฺพํ เจตสา สมนฺนาหริตฺวา
อตฺถธมฺมปฏิสํเวที หุตฺวา ภณนฺโต ธมฺมุปสฺหิตปาโมชฺชาทิมุเขน สมาหิโต
สรภญฺญปริโยสาเน วิปสฺสนํ ปฏฺฐเปตฺวา สงฺขาเร สมฺมสนฺโต อนุปุพฺเพน อรหตฺตํ
ปาปุณิ. เอตทตฺถเมว หิสฺส ภควตา อตฺตนา สทฺธึ เอกคนฺธกุฏิยํ วาโส อาณตฺโตติ วทนฺติ
เกจิ ปนาหุ น จ มยา สมฺมุขา ทิฏฺโฐติ อิทํ รูปกายทสฺสนเมว
สนฺธาย วุตฺตํ. อายสฺมา หิ โสโณ ปพฺพชิตฺวา เถรสฺส สนฺติเก กมฺมฏฺฐานํ คเหตฺวา
ฆเฏนฺโต วายมนฺโต อนุปสมฺปนฺโนว โสตาปนฺโน หุตฺวา อุปสมฺปชฺชตฺวา อุปาสกาปิ โสตาปนฺนา โหนฺติ, อหมฺปิ โสตาปนฺโน, กิเมตฺถ จิตฺตนฺติ อุปริมคฺคตฺถาย วิปสฺสนํ วฑฺเฒตฺวา อนฺโตวสฺเสเยว
ฉฬภิญฺโญ หุตฺวา วิสุทฺธิปวารณาย ปวาเรสิ.
อริยสจฺจทสฺสเนน ภควโต ธมฺมกาโย ทิฏฺโฐ นาม โหติ. วุตฺตฺเหตํ โย โข วกฺกลิ ธมฺมํ
ปสฺสติ, โส มํ ปสฺสตีติ ตสฺมาสฺส ธมฺมกายทสฺสนํ ปเคว สิทฺธํ,
ปวาเรตฺวา ปน รูปกายํ ทฏฺฐุกาโม อโหสี ติ.
คำว่า วสฺสํ วุตฺถสฺสาติ ความว่า
ผู้เข้าจำพรรษาอยู่ คำว่า เอทิโส จ เอทิโส
จ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เราได้ฟังมาว่า มีรูปกายสวยงามปานนี้ มีพระธรรมกาย สวยงามเห็นปานนี้ คือทรงประกอบ
ด้วยนามกายสมบัติ และรูปกายสมบัติเห็นปานนี้ และประกอบด้วยธรรมกายสมบัติเห็นปานนี้
ด้วยคำว่า น โข เม โส ภควา
สมฺมุขา ทิฏฺโฐ นี้ อาจารย์ทั้งหลายหมายเอาความเป็นปุถุชนเท่านั้น กล่าวว่าท่านโสณะได้มีความประสงค์จะเฝ้าพระศาสดา
ก็ในกาลเป็นส่วนอื่นอีก ท่านอยู่ในพระคันธกุฎีหลังเดียวกับพระศาสดาในเวลาใกล้รุ่ง
พระศาสดาทรงเชื้อเชิญ จึงทำไว้ในใจใส่ใจยิ่งแล้ว ถึงพระสูตร ๑๖ เป็นวรรค ๘ วรรค
เฉพาะพระพักตร์พระศาสดา แล้วประมวลทั้งหมดมา ด้วยใจทั้งหมด เป็นผู้รู้แจ้ง อรรถและธรรม
เมื่อจะกล่าว เป็นผู้มีจิตเป็นสมาธิ โดยมุขคือ ความปราโมทย์อันเกิดแต่ธรรม
ในเวลาจบสรภัญญะ เริ่มตั้งวิปัสสนา พิจารณาสังขาร บรรลุพระอรหัตโดยลำดับ
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงสั่งให้เธออยู่ในพระคันธกุฎีเดียวกันกับพระองค์
ก็เพื่อให้ท่านเห็นพระธรรมกายอรหัตนี้เท่านั้น
ฝ่ายอาจารย์บางพวกกล่าวว่า คำว่า
เรายังไม่ได้เห็นพระผู้มีพระ-ภาคเจ้า เฉพาะพระพักตร์แล นี้ท่านกล่าว
หมายเอาเฉพาะการเห็น รูปกายเท่านั้น
จริงอยู่ ท่านพระโสณะ พอบวชแล้ว
ก็เรียนกรรมฐานในสำนักของพระเถระ เพียรพยายามอยู่ยังไม่ได้อุปสมบทเลย
ได้เป็นพระโสดาบัน ครั้นอุปสมบทแล้ว คิดว่า แม้อุบาสกทั้งหลาย ก็เป็นพระโสดาบัน
ทั้งเราก็เป็นพระ- โสดาบัน ในข้อนี้จะคิดไปทำไมเล่า จึงเจริญวิปัสสนาเพื่อมรรคชั้นสูงๆ
ขึ้นไป ได้อภิญญา ๖ ภายในพรรษานั้นเอง แล้วปวารณาด้วย วิสุทธิปวารณา. ก็เพราะเห็นอริยสัจ
จึงชื่อว่าเป็นอันเธอได้เห็นพระธรรมกายของพระผู้มี-พระภาคเจ้าแล้ว
สมจริงดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า
ดูก่อนวักกลิ ผู้ใดเห็นธรรม
ผู้นั้นชื่อว่า เห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่า เห็นธรรม เพราะฉะนั้น
การเห็นธรรมกาย จึงสำเร็จแก่เธอก่อนทีเดียว. ก็แล ครั้นปวารณาแล้ว
เธอได้มีความประสงค์จะเห็น
รูปกายฯ
(ขุ.อุ.อรรถกถาโสณสูตร เล่ม ๔๔ หน้า ๕๕๗-๕๕๘)
๗.สารตฺถทีปนิยา นาม วินยฎีกา (สมนฺตปาสาทิกาวณฺณนา ตติโย ภาโค) ฉบับมหาจุฬาฯ
หน้า ๓๖๓
ปาสาทิกนฺติอาทิปทานํ อตฺโถ
อฏฺฐกถายเมว วุตฺโต. ตตฺถ
วิสูกายิกวิปฺผนฺทิตานนฺติ ปฏิปกฺขภูตานํ
ทิฏฺฐิจิตฺตวิปฺผนฺทิตานนฺติ อตฺโถ.
ปาสาทิกนฺติ [เชิงอรรถ จาก อุทาน.อฏ.๙๐] วา
ทฺวตฺตึสมหาปุริสลกฺขณอสีติอนุพฺยญฺชนพฺยามปฺปภาเกตุมาลาลงฺกตาย สมนฺตปาสาทิกาย
อตฺตโน สรีรปฺปภาย [เชิงอรรถในคัมภีร์ฎีกาที่พิมพ์ ไว้ในอักษรไทยใช้เป็น
สรีรโสภาย] สมฺปตฺติยา
รูปกายทสฺสนพฺยาวฏสฺส ชนสฺส สพฺพภาคโต ปสาทาวหํ. ปสาทนียนฺติ ทสพลจตุเวสารชฺชฉอสาธารณาณอฏฺฐารสอาเวณิกพุทฺธธมฺมปฺปภุติ
อปริมาณคุณคณสมนฺนาคตาย ธมฺมกายสมฺปตฺติยา ปริกฺขกชนสฺส ปสาทนียํ ปสีทิตพฺพยุตฺตํ ปสาทกํ วา.
สนฺตินฺทฺริยนฺติ จกฺขาทิปญฺจินฺทฺริยโลลตาวิคเมน วูปสนฺตปญฺจินฺทฺริยํ. สนฺตมานสนฺติ
ฉฏฺฐสฺส มนินฺทฺริยสฺส นิพฺพิเสวนภาวูปคมเนน
วูปสนฺตมานสํ. อุตฺตมทมถสมถํ
อนุปฺปตฺตนฺติ โลกุตฺตรปญฺญาวิมุตฺติเจโตวิมุตฺติสงฺขาตํ อุตฺตมํ ทมถํ
สมณญฺจ อนุปฺปตฺวา อธิคนฺตฺวา ฐิตํ. ทนฺตนฺติ สุปริสุทฺธกายสมาจารตาย
หตฺถปาทกุกฺกุจฺจาภาวโต ทวาทิอภาวโต จ กาเยน ทนฺตํ. คุตฺตนฺติ สุปริสุทฺธวจีสมาจารตาย
นิรตฺถกวาจาภาวโต รวาทิอภาวโต จ วาจาย
คุตฺตํ. ยตินฺทฺริยนฺติ สุปริสุทฺธมโนสมาจารตาย อริยิทฺธิโยเคน
อพฺยาวฏอปฺปฏิสงฺขุเปกฺขาภาวโต จ มุนินฺทฺริยวเสน ยตินฺทฺริยํ. นาคนฺติ
ฉนฺทา-ทิวเสน อคมนโต ปหีนานํ ราคาทิกิเลสานํ อปุนาคมนโต อปจฺจาคมนโต กสฺสจิปิ
อาคุสฺส สพฺพถาปิ อกรณโต ปุนพฺภวสฺส จ อคมนโตติ อิเมหิ การเณหิ นาคํ. เอตฺถ
จ"ปาสาทิกนฺ ติ อิมินา รูปกาเยน ภควโต
ปมาณภูตตํ ทีเปติ, ปสาทนียนฺ
ติ อิมินา ธมฺมกาเยน.
ความแห่งบทว่า ปาสาทิกํ เป็นต้น
ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาแล้วแล ฯ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิสูกายิกวิปฺผนฺทิตานํ ความว่า
เหล่าบุคคลผู้ตรงกันข้าม
มีความเห็น และความคิดผันแปร บทว่า
ปาสาทิกํ ความว่า
นำมาซึ่งความเลื่อมใสรอบด้านแก่ชนผู้ขวนขวายในการเห็นพระรูปกาย
เพราะความสมบูรณ์ด้วยความงามแห่งสรีระของพระองค์ อันนำความเลื่อมใสมารอบด้าน
อันประดับด้วยลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ อนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ
มีพระรัศมีเปล่งรอบตัวหนึ่งวา และพระเกตุมาลา
บทว่า ปสาทนียํ ความว่า
เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส เหมาะที่ควรจะเลื่อมใส
หรืออันน่าเลื่อมใสของคนผู้มีปัญญาเห็นประจักษ์ เพราะธรรมกายสมบัติ
อันประกอบด้วยจำนวนพระคุณหาประมาณมิได้ เริ่มตั้งแต่ทศพลญาณ ๑๐ เวสารัชชญาณ ๔
อสาธารณญาณ ๖ อาเวณิกพุทธธรรม ๑๘
เป็นต้น
บทว่า สนฺตินฺทฺริยํ ความว่า
มีอินทรีย์ ๕ เข้าไปสงบแล้ว เพราะปราศจากความโลเลในอินทรีย์ ๕ มีจักษุอินทรีย์
เป็นต้น
บทว่า สนฺตมานสํ ความว่า
มีใจเข้าไปสงบ เพราะถึงความไม่เข้าไปส้องเสพอินทรีย์มีใจเป็นที่ ๖. หลายบทว่า
อุตฺตมทมถสมถํ อนุปฺปตฺตํ ความว่า
ถึงโดยลำดับ คือ บรรลุความฝึก และความสงบอย่างสูงสุด กล่าว คือโลกุตตรปัญญา
วิมุตติ และเจโตวิมุตติ ดำรงอยู่แล้วฯ บทว่า ทนฺตํ ความว่า ชื่อว่า ฝึกทางกาย
เพราะมีมรรยาททางกายบริสุทธิ์ล้วนๆ เพราะไม่มีความคะนองมือเท้า
และเพราะไม่มีกิริยาการเล่น เป็นต้นฯ บทว่า คุตฺตํ ความว่า ชื่อว่า คุ้มครองแล้วทางวาจา
เพราะมีมรรยาททางวาจาบริสุทธิ์อย่างดี เพราะไม่มีวาจาที่ไร้ประโยชน์ และเพราะไม่มีกิริยาการร้องรำ
เป็นต้นฯ บทว่า ยตินฺทริยํ ความว่า
ชื่อว่า มีอินทรีย์อย่างนักพรต ด้วยอำนาจอินทรีย์ของผู้สงบ
เพราะมีมรรยาททางใจบริสุทธิ์อย่างดี เพราะประกอบด้วยฤทธิ์ของพระอริยะ
และเพราะไม่มีความไม่ขวนขวาย และความไม่วางเฉยในปฏิสังขาญาณฯ บทว่า นาคํ ความว่า
ชื่อว่า ผู้ประเสริฐ เพราะเหตุเหล่านี้ คือ เพราะไม่ลุอำนาจอคติ มีฉันทาคติ
เป็นต้น ๑ เพราะไม่ข้องแวะกิเลสมีราคะเป็นต้น ที่ละได้แล้ว ๑
เพราะไม่หวนกลับมาหากิเลสเหล่านั้น ๑ เพราะไม่ทำความคุ้นอะไรๆ แม้โดยประการทั้งปวง
๑ และเพราะไม่ไปเกิดภพใหม่ ๑ ฯ ก็ด้วยบทว่า ปาสาทิกํ นี้ ในอธิการนี้
ท่านแสดงถึงความสำคัญของพระผู้มีพระภาค-เจ้าโดยรูปกาย ด้วยบทว่า ปสาทนียํ
นี้ แสดงถึงความสำคัญของพระ-ผู้มีพระภาคเจ้าโดยธรรมกายฯ
๘.มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาส
อุปาลิวาทสูตร ฉบับสยามรัฐ เล่ม ๑๓ หน้า ๗๗
(ม.ม.อุปาลิวาทสูตร
๑๓/๘๒/๗๗)
...นิสภสฺส อปฺปเมยฺยสฺส คมฺภีรสฺส
โมนปฺปตฺตสฺส เขมงฺกรสฺส เวทสฺส
ธมฺมฏฺฐสฺส สุสํวุตตฺตสฺส สงฺคาติคสฺส มุตฺตสฺส ภควโต ตสฺส สาวโกหมสฺมิ...
...ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้องอาจ ไม่มีใครประมาณได้
มีพระคุณลึกซึ้ง บรรลุถึงญาณ ทรงทำความเกษม ทรงมีพระญาณ ทรงตั้งอยู่ในธรรม
ทรงสำรวมพระองค์ดี ทรงล่วงกิเลสเป็นเครื่องข้อง ผู้พ้นแล้ว...
(ม.ม.อุปาลิวาทสูตร ๑๓/๘๒/๖๒, ฉ.มหามกุฏฯ เล่ม ๒๐ หน้า ๑๓๔)
ในอรรถกถาแก้ไว้ว่า
ธมฺมฏฺฐสฺสาติ ธมฺเม ฐิตสฺส [ม.อ.ปปญฺจสูทนี อรรถกถาอุปาลิสูตร ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๗๓]
คำว่า ธมฺมฏฺฐสฺส แปลว่า
ผู้ตั้งอยู่ในธรรม [ม.ม.อรรถกถา-
อุปาลิสูตร เล่ม ๒๐ หน้า ๑๘๓]
ในฎีกาแก้ต่อไปอีกว่า
ธมฺเม ฐิตสฺสาติ ธมฺมกาเย
สุปฺปติฏฺฐิตสฺส.
[ม.ฎี.ลีนตฺถปฺปกาสนี
มชฺฌิมอุปริปณฺณาสฎีกา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๕๐]
บทว่า ธมฺเม ฐิตสฺส แปลว่า
ผู้ตั้งอยู่ด้วยดีในธรรมกาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น