วันพุธที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560

หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๕)



เรื่อง : พระครูวิเทศสุธรรมญาณ วิ. (สุธรรม สุธมฺโม) และคณะนักวิจัย DIRI
จากวารสารอยู่ในบุญฉบับเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๘
 

      วันที่ ๙ กันยายนที่ผ่านมา ผู้เขียนและคณะนักวิจัยของสถาบันดีรี (DIRI) เดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจในโครงการสืบค้นวิจัยคำสอนดั้งเดิม ณ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน เมืองซีแอตเทิลประเทศสหรัฐอเมริกา สืบเนื่องจากการลงนามสัญญาความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับทางสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย เพื่อร่วมประชุมกับ ศาสตราจารย์ริชาร์ด ซาโลมอน และศาสตราจารย์คอลเล็ต ค็อกซ์ กับคณะ เเละถือโอกาสไปส่ง ดร.ชนิดา จันทราศรีไศล (อาจารย์ลูก) หลังจากกลับมาพักฟื้นฟูสุขภาพจากการทุ่มเทมุ่งมั่นในงานวิจัยมาอย่างต่อเนื่องตลอดมาเป็นเวลานาน นับว่าเป็นบุคลากรหลักของสถาบันดีรีทีเดียว

     ช่วงนี้เป็นช่วงปลายของการปิดภาคเรียนนักศึกษาเพิ่งจะทยอยกันกลับมาเตรียมความพร้อมในเทอมต่อไป และยังเป็นฤดูใบไม้ร่วง (Fall) จึงทำให้เมืองซีแอตเทิลดูซบเซาไปบ้างอย่างไรก็ตาม คณะของเราอันมี ผู้เขียน, ศาสตราจารย์สุกัญญา สุดบรรทัด, ดร.ศิริพร ศิริขวัญชัย และ ดร.ชนิดา จันทราศรีไศลกลับมีความกระตือรือร้นมาก แม้การเดินทางจะยาวไกลใช้เวลาเกือบ ๒๐ ชั่วโมง ต่างก็ยังมีความสดชื่นเบิกบาน ไม่มีใครรู้สึกเมาเครื่องบินยิ่งได้พบหม่คู ณะลูกพระธัมฯ (พระเดชพระคุณพระเทพญาณมหามุนี ผู้สถาปนาสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย หรือ Dhammachai International Research Institute) คือพระครูภาวนาวิเทศ เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายซีเเอตเทิล และ พระปอเหม่า ธมฺมฐิโต ที่ร่วมสนับสนุนการทำงานวิจัย มาต้อนรับถึงสนามบินอย่างอบอุ่น และจัดที่พักดูแลความเป็นอยู่อำนวยความสะดวกอย่างดีมาก ก็ยิ่งมีความรู้สึกเบิกบาน จึงขอขอบคุณอย่างยิ่งมา ณ ที่นี้ด้วย

    ผลของการประชุมสรุปว่า การดำเนินการวิจัยที่ผ่านมามีผลงานความก้าวหน้า และขอให้ทำอย่างต่อเนื่อง อนึ่ง มหาวิทยาลัยนี้เป็นแหล่งที่มี ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Source) คือ คัมภีร์พุทธโบราณเก่าเเก่อายุถึง ๒,๐๐๐ ปีเป็นจำนวนมาก ที่รอคอยทีมงานสืบค้นวิจัยมาช่วยกันอ่านถอดความให้ปรากฏ ซึ่งตรงกับวิสัยทัศน์ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อ ผู้สถาปนาสถาบันฯ เคยกล่าวไว้ และมอบนโยบายให้หมู่คณะทุ่มเทศึกษาเเละอ่านคัมภีร์เหล่านั้นที่มีอยู่ให้รู้เรื่องทั้งหมด เพื่อทำความจริงให้ปรากฏสู่สายตาชาวโลก และจะได้เป็นทนายแก้ต่างให้แก่พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกายสืบไป
 
อาคารที่เก็บข้อมูลปฐมภูมิ คือ คัมภีร์พุทธโบราณจำนวนมากที่รอการศึกษาและทำวิจัย
อาคารที่เก็บข้อมูลปฐมภูมิ คือ คัมภีร์พุทธโบราณจำนวนมากที่รอการศึกษาและทำวิจัย

พระครูวิเทศสุธรรมญาณ วิ. มอบหนังสือ “สารัตถะศิลาจารึกในประเทศไทย” เล่มที่ ๒ และของที่ระลึก แก่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยวอชิงตันเป็นธรรมบรรณาการ
พระครูวิเทศสุธรรมญาณ วิ. มอบหนังสือ “สารัตถะศิลาจารึกในประเทศไทย” เล่มที่ ๒ และของที่ระลึก
แก่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยวอชิงตันเป็นธรรมบรรณาการ

พระครูวิเทศสุธรรมญาณ วิ. มอบหนังสือ “สารัตถะศิลาจารึกในประเทศไทย” เล่มที่ ๒ และของที่ระลึก แก่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยวอชิงตันเป็นธรรมบรรณาการ
พระครูวิเทศสุธรรมญาณ วิ. มอบหนังสือ “สารัตถะศิลาจารึกในประเทศไทย” เล่มที่ ๒ และของที่ระลึก
แก่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยวอชิงตันเป็นธรรมบรรณาการ

     สำหรับเรื่องที่มีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาออกพ้นเขตชมพูทวีปไปสู่อาณาจักรต่าง ๆ รอบข้าง และประดิษฐานได้อย่างมั่นคง ตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช โดยเฉพาะการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าไปในโยนกประเทศและคันธาระนั้น ด้วยพุทธานุภาพจึงทำให้ มีการค้นพบหลักฐานคัมภีร์พุทธโบราณมากมาย ในเขตคันธาระเเละเอเชียกลางที่เมืองบามิยัน ฮัดดา กิลกิต เป็นต้น (ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศอัฟกานิสถานและประเทศปากีสถาน) ดังนั้นจึงเป็นโอกาสทองที่ นักวิจัยของสถาบันฯ ได้ทำการศึกษาสืบค้นวิจัยจากข้อมูลปฐมภูมิเหล่านั้นด้วย โดยอาศัยการสร้างความสัมพันธ์กับนักวิชาการอาวุโสที่มีชื่อเสียงระดับโลก จนเกิดความคุ้นเคยและไว้เนื้อเชื่อใจ (วิสฺสาสปรมา ญาติ.) ต่อมาจึงมีการลงนามสัญญาเพื่อความร่วมมือทางวิชาการจนถึงปัจจุบันนี้ซึ่งผู้เขียนจะได้นำผลงานที่นักวิจัยของสถาบันฯได้ทำสำเร็จด้วยดีแล้วมานำเสนอในฉบับต่อไป
 
ทางมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ได้ให้เกียรติยกย่องจารึกชื่อ “Dhammachai International Research Inst.”  ไว้ภายใน “หอเกียรติคุณ”
ทางมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ได้ให้เกียรติยกย่องจารึกชื่อ “Dhammachai International Research Inst.”
ไว้ภายใน “หอเกียรติคุณ”

     ฉบับนี้ขอนำเสนอเรื่องราวของเส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อจากฉบับที่เเล้วโดยย้อนกลับมาในดินแดนพุทธภูมิ ในแถบรัฐมหาราษฎร์ ซึ่งยังมีหลักฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนาคงเหลือให้เห็น ได้แก่ กลุ่มถ้ำที่ดัดแปลงจากผาหินธรรมชาติเป็นพุทธสถาน เช่น ถ้ำอชันตา ถ้ำเอลโลลา เป็นต้น

     พุทธสถานถ้ำอชันตา 1 (Ajanta Caves) สร้างเมื่อ พ.ศ. ๓๕๐ สมัยนั้นถ้ำแห่งนี้เป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับการปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่งจึงมีการเจาะภูเขาเพื่อสร้างเป็นกุฏิ พุทธเจดีย์และสถานที่ประกอบศาสนกิจต่าง ๆ ประดับด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนัง เล่าเรื่องราวในพุทธประวัติและชาดกต่าง ๆ

     ถ้ำที่ก่อสร้างในยุคแรก ๆ สร้างขึ้นอย่างเรียบง่ายเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย โดยเจาะหินเข้าไปเป็นห้องโถงโล่ง ๆ ใช้เป็นที่นั่งสนทนาธรรม พร้อมกับเจาะเป็นห้องนอน ภายในมีเตียงหินห้องละ ๒ เตียง ถ้ำอชันตาในยุคแรกยังไม่มีการแกะสลักเป็นองค์พระพุทธรูป
 

ถ้ำอชันตาหมายเลข ๙ พุทธศตวรรษที่ ๖
ที่มา http://sjoneall.net/big-galleries/india-2012-big/05-ajanta/slides/in12_021512470_j_r.jpg


ภายในถ้ำอชันตาหมายเลข ๑๓ กุฏิพระสงฆ์ พุทธศตวรรษที่ ๕-๖
ที่มา http://www.shunya.net/Pictures/South%20India/Ajanta/AjantaCaves31.jpg


ภาพสลักแสดงพระสถูปพระเจ้าอโศกที่อมราวดี พุทธศตวรรษที่ ๕-๖ พิพิธภัณฑ์
เชนไน อินเดีย ที่มา http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/c/ce/Amaravati_Stupa_relief_at_Museum.jpg


เครื่องประกอบตกแต่งสถูปของพระมหาสถูป ศิลปะอมราวดี พุทธศตวรรษที่ ๕-๖
พิพิธภัณฑ์เชนไน อินเดีย ที่มา http://www.hoparoundindia.com/cityimages/andhra-pradesh/Amaravathi-Amaravati%20Museum-4.jpg

     ถ้ำพุทธศาสนาลักษณะเรียบง่ายที่อชันตามีการสร้างเพิ่มเติมต่อมาอีกราว ๒๐๐ ปี จนถึงราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๖ ก็ไม่ปรากฏร่องรอยการสร้างวัดถ้ำเช่นนั้นอีก ต่อจากนั้นอีก ๔๐๐ ปี จึงกลับมามีการสร้างวัดถ้ำอีกครั้งที่น่าสังเกต คือ การสร้างพระพุทธรูปไว้ในถ้ำดังกล่าวเพื่อสักการบูชาแทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า สร้างขึ้นตามคตินิยมของฝ่ายมหายานจากการศึกษาภาพแกะสลักหินที่ยังคงอยู่อย่างสมบูรณ์ภายในถ้ำนี้ ทำให้นักวิชาการสามารถปะติดปะต่อเรื่องราวของพระพุทธศาสนาในอินเดียเป็นรูปเป็นร่างได้มากขึ้น
 

ภาพสลักพระนางสิริมหามายาทรงพระครรภ์และมีพระประสูติกาลเจ้าชายสิทธัตถะ ซึ่งแสดงด้วยสัญลักษณ์พระแท่นเปล่า
ห้อมล้อมด้วยท้าวมหาราชทั้งสี่ศิลปะอมราวดี พุทธศตวรรษที่ ๕-๖ พิพิธภัณฑ์เชนไน อินเดีย
ที่มา https://s-media-cache-ak๐.pinimg.com/originals/55/1d/๐c/551d๐c14b72e4f085ab0774d485d9805.jpg


ภาพสลักพระพุทธเจ้าโปรดช้างนาฬาคิรีแสดงรูปพระพุทธเจ้ายกพระหัตถ์เหนือช้างตกมัน ศิลปะอมราวดียุคหลัง พุทธศตวรรษ
ที่ ๙ พิพิธภัณฑ์เชนไน อินเดีย ที่มา https://s-media-cache-ak0.pinimg.c o m / 7 3 6 x / b 5 / 0 8 / 2 4 / b 5 0 8 2 4 a c -030924064c3f354e7a13025a.jpg


ภาพสลักพิมพาพิลาปและพระราหุลขอราชสมบัติ ในภาพแสดงพระพุทธเจ้าด้วยบัลลังก์เปล่า พนักบัลลังก์มีสัญลักษณ์ไตรรัตน์
ศิลปะอมราวดี พุทธศตวรรษที่ ๕-๖ พิพิธภัณฑ์เชนไน อินเดีย
ที่มา http://orias.berkeley.edu/visuals/buddha/11_lg.jpg

      ทางตอนล่างด้านตะวันออกของอินเดียในแถบลุ่มแม่น้ำกฤษณะและแม่น้ำโคทาวรีพระพุทธศาสนาได้ประดิษฐานอย่างมั่นคงในเมืองอมราวดี 2 ซึ่งเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์สตวาหนะ ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๔-๘ เมืองอมราวดีเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่สำคัญแห่งหนึ่งในยุคนี้ หลักฐานทางโบราณคดีที่เหลืออยู่ชี้ให้เห็นว่า ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๕-๖ ภาพสลักที่แสดงถึงพระพุทธเจ้ามักแสดงด้วยสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ไม่ใช่พระพุทธรูป เช่น ดอกบัว ธรรมจักร สถูป ต้นโพธิ์ หรือบัลลังก์หลังจากนั้นระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๗-๘ จึงเริ่มนิยมแสดงถึงพระพุทธเจ้าด้วยพระพุทธรูป

     พระภิกษุเสวียนจั้ง3 หรือพระถังซำจั๋งได้เดินทางมาถึงเมืองอมราวดีใน พ.ศ. ๑๑๘๓4และได้พักศึกษาพระอภิธรรมและบันทึกถึงความรุ่งเรืองของสถาปัตยกรรมพุทธศาสนาของดินแดนดังกล่าวเอาไว้

      หลังจากการล่มสลายของราชวงศ์สตวาหนะแล้ว ราชวงศ์อานธรอิกศวากุ5 ได้ปกครองดินแดนแถบนี้ระหว่างปลายพุทธศตวรรษที่ ๘ ถึงพุทธศตวรรษที่ ๙ โดยตั้งเมืองหลวงที่เมืองวิชัยปุระหรือนาคารชุนโกณฑะ6 สมาชิกฝ่ายสตรีในราชวงศ์นี้เป็นพุทธมามกะได้สร้างวิหารเทวีและวิหารสิงหล7 ให้เป็นอาสนสถานของพระสงฆ์จากลังกา และสร้างชัยตยฆระ8 ถวายแด่ฝ่ายพระเถรีจากลังกาความสัมพันธ์ทางพระพุทธศาสนาของลังกาและอินเดียแถบอานธรประเทศในยุคนี้มีความใกล้ชิดกันเป็นอย่างมาก

     ต่อมาราชวงศ์ปัลลวะเข้ามาครอบครองดินแดนภาคใต้ของอินเดียในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๙ ถึง ๑๕ มีเมืองกาญจิปุรัม9 เป็นเมืองหลวงในตอนบน และเมืองมทุไร10 เป็นเมืองหลวงในตอนล่างของอาณาจักร11 ในทำเนียบกษัตริย์ของราชวงศ์ปัลลวะ ซึ่งต้นราชวงศ์นับถือศาสนาพุทธ12 มีกษัตริย์ทรงพระนามว่าพุทธวรมัน ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๑๐๕๓ - ๑๑๕๓13 พระเจ้านรสิงหวรมันที่ ๑ ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๑๑๗๓-๑๒๑๑14

     พระภิกษุจีนเสวียนจั้งหรือพระถังซำจั๋งได้จาริกมาถึงเมืองกาญจิปุรัม ท่านบันทึกไว้ว่ามีอารามในพระพุทธศาสนา ๑๐๐ แห่ง และมีพระสงฆ์กว่าพันรูป นักปราชญ์สำคัญในศาสนาพุทธหลายท่านก็อาศัยอยู่ที่กาญจิปุรัมนี้ เช่นพระพุทธโฆษาจารย์ พระธรรมปาละ หลังจากราชวงศ์ปัลลวะแล้ว พระพุทธศาสนายังคงอยู่ในดินแดนแถบรัฐทมิฬนาฑูต่อไปจนถึงราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐

     สิ่งที่ควรค่าแก่การทราบไว้ประการหนึ่ง คือ ในราชวงศ์ปัลลวะนี้มีระบบอักษรชนิดหนึ่งพัฒนาขึ้นจากอักษรพราหมี เป็นที่รู้จักกันในชื่ออักษรปัลลวะ ได้มีการใช้ภาษา15 และอักษรปัลลวะบันทึกถ่ายทอดพระพุทธประวัติในราวพุทธ-ศตวรรษที่ ๑๑-๑๒ ซึ่งต่อมาพุทธประวัติฉบับนี้ได้รับการแปลถ่ายทอดเป็นภาษาอาหรับ ซีเรีย กรีก ฮิบรู เอธิโอเปีย อาร์เมเนีย และละติน16
 

พุทธสถานถวายแด่พระสงฆ์จากลังกา นาคารชุนโกณฑะอานธรประเทศ อินเดีย พุทธศตวรรษที่ ๘-๙
ที่มา http://www.ixigo.com/nagarjunakonda-buddhiststupas-andhra-pradesh-india-ne-3019462

     นอกจากนี้อักษรปัลลวะยังเป็นอักษรชนิดแรกที่ดินแดนสุวรรณภูมิรับมาใช้ในการจารึกบนหลักศิลาจารึกโบราณต่าง ๆ ทั้งจารึกในศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ พบว่าเริ่มใช้ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒ เป็นต้นมาอักษรปัลลวะนี้ได้เป็นต้นแบบอักษรต่าง ๆ เช่นอักษรชวา กวิ มอญ พม่า เขมร อักษรธรรมล้านนา อักษรไทย ลาว ไทยลื้อ ฯลฯ

     โบราณวัตถุรวมถึงศิลาจารึกคาถาในพระพุทธศาสนาทั้งภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตปรากฏให้เห็นเป็นหลักฐาน สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตลอดฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทยตามเส้นทางการค้าขายในยุคพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒ นี้อย่างชัดเจน

     เส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนายังมีเนื้อหามากมายอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ผู้เขียนจะทยอยนำมาเสนอให้ทราบในฉบับต่อ ๆ ไป พร้อมกับจะนำผลงานของนักวิจัยสถาบันฯ ที่ค้นพบหลักฐานคำสอนดั้งเดิม ร่องรอยธรรมกายจากหลายแหล่งตามเส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลมาจนถึงปัจจุบันมานำเสนอด้วย
 
                    

ภาพหลักฐานอ้างอิง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น