วันพุธที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560

หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๓)



เรื่อง : พระสุธรรมญาณวิเทศ วิ. (สุธรรม สุธมฺโม) และคณะนักวิจัย DIRI
จากวารสารอยู่ในบุญฉบับเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๙
 
 
     ผู้เขียนและคณะทีมงานของสถาบันฯมีความปลื้มปีติที่ได้แสดงความกตัญญูตอบแทนและประกาศเกียรติคุณของพระเดชพระคุณ-พระเทพญาณมหามุนี วิ. (หลวงพ่อธัมมชโย) ที่เป็นองค์สถาปนาสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัยซึ่งท่านมีมโนปณิธานมาเป็นเวลากว่า ๓๕ ปีว่าน่าจะมีใครสักคนหรือหลาย ๆ คนในองค์กรทำการค้นคว้าหาหลักฐานคำสอนดั้งเดิมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยเฉพาะเรื่องธรรมกายเพื่อทำความจริงให้ปรากฏ

     ในวาระอายุวัฒนมงคล ๗๒ ปีของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ผู้เขียนในฐานะประธานอำนวยการสถาบันฯ จึงรวบรวมหมู่คณะที่อยู่ในภาคสนามตามแหล่งข้อมูลที่กระจัดกระจายไปตามทวีปต่าง ๆ ให้มาร่วมใจกันจัดงานเสวนาบูชาธรรมในเรื่องหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณครั้งที่ ๓ ณ ห้องประชุมชั้น ๑ อาคาร ๑๐๐ ปีคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูงวัดพระธรรมกาย เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายนที่ผ่านมา โดยมีผ้สู นใจเข้าร่วมเสวนาและรับฟังทั้งพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา รวมทั้งเหล่ากัลยาณมิตรเป็นจำนวนถึง ๑,๕๐๐ ท่านซึ่งทุกท่านต่างตั้งใจรับฟังโดยไม่ลุกจากที่นั่งทั้งในภาคเช้าและภาคบ่าย
 

     การจัดงานดังกล่าวถือว่าบรรลุวัตถุประสงค์และได้กลุ่มเป้าหมายที่สนใจเข้าฟังการเสวนาทางวิชาการตรงตามที่ตั้งใจไว้ ทำให้ทุกคนได้ความรู้และเข้าใจว่า จากการทำ วิจัยในภาคสนามหลายแห่งได้พบหลักฐานที่ปรากฏอยู่จริง อ้างอิงได้ชัดเจน ทำให้มีความเข้าใจในเรื่องธรรมกายอย่างถ่องแท้ว่า มีหลักฐานปรากฏในคัมภีร์พุทธโบราณและคำจารึกต่าง ๆนอกจากนี้จะได้นำหลักฐานผลงานวิจัยมาต่อยอดในงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี ท้งั เป็นการสร้างความสัมพันธ์กับนักวิชาการทั่วโลก อันจะนำไปสู่การขยายผลให้ความรู้เรื่องธรรมกายขยายวงกว้าง เพื่อช่วยเป็นทนายแก้ต่างให้พระพุทธศาสนาได้
 
 

     ในวันงานเสวนาบูชาธรรมนั้น ผู้เขียนและคณะได้รับการสนับสนุนจากกัลยาณมิตรผู้ใจบุญที่เป็นกรรมการที่ปรึกษาและอุปถัมภ์ของสถาบันฯ ตลอดจนผู้ใหญ่ใจดี จึงทำให้การจัดงานครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่งและที่สำคัญการได้รับอนุญาตให้ใช้อาคาร ๑๐๐ ปี คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ขนนกยูง ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีที่ได้ใช้อาคารห้องประชุมของผู้ก่อตั้งวัดพระธรรมกายในการจัดงานนี้ ซึ่งนับว่าเป็นมงคลอย่างยิ่ง แม้ว่าอาคารยังก่อสร้างไม่สมบูรณ์และยังไม่ได้มีการส่งมอบงาน แต่คณะผู้จัดงานก็ได้รับความเมตตาจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อและคณะกรรมการบริหารองค์กร และหน่วยงานต่าง ๆ ภายในวัด จึงขอโอกาสอนุโมทนาบุญ ขอบคุณท่านท้งั หลายเหล่าน้นั และขอบคุณหน่วยงานทุก ๆ สำนัก ที่ส่งอาสาสมัครรวมทั้งให้ยืมอุปกรณ์จนทำให้งานสำเร็จด้วยดี
 
 
 

พระชยานันทมุนี, ดร. ในนามศูนย์วิจัยพุทธศาสตร์นครน่าน มจร. เเละวัดพระธาตแช่แห้งน้อมถวาย
ใบประกาศเกียรติคุณ เเด่พระเดชพระคุณพระเทพญาณมหามุนี วิ. ที่ได้สนับสนุนโครงการ
อนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาไทย ด้วยการจัดทำดิจิไทเซชันคัมภีร์ใบลานล้านนา ฉบับนครน่าน
รวมทั้งสนับสนุนการศึกษานักธรรม–บาลีทั้งภายในเเละต่างประเทศ โดยมีพระสุธรรมญาณวิเทศ วิ. เป็นผู้เเทนรับมอบ

     ฉบับนี้ ผู้เขียนจึงขอสรุปบรรยากาศการเสวนาและย่อเนื้อหาความรู้ของผู้วิจัยที่ปฏิบัติหน้าที่ในภาคสนามจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ดังนี้

     ในงานนี้มีพิธีสำคัญประการหนึ่ง คือ พิธีลงนามสัญญาเพื่อความร่วมมือทางวิชาการด้านพระพุทธศาสนา ระหว่างสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (Dhammachai International Research Institute-DIRI) กับหน่วยงาน International Buddha Education Institute (IBEI)
 

พิธีลงนามสัญญาเพื่อร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่าง Chairman
ของสถาบัน IBEI (Most Ven. Loknayak Ashva Ghosh Mahanayak
Mahathera) กับ พระสุธรรมญาณวิเทศ วิ. (สุธรรม สุธมฺโม) Chairman
ของสถาบัน DIRI โดยมี Dr. Heero Hito และ Dr. Jeffrey Wilson ร่วมเป็นสักขีพยาน

ในวันงานนักวิจัยได้นำเสนอผลงาน โดยแบ่งเป็น ๔ ส่วน ดังนี้

     ๑. ภูมิศาสตร์ของหลักฐานธรรมกายในเส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
     ๒. หลักฐานธรรมกายในเอเชียกลางและเอเชียตะวันออก
     ๓. หลักฐานธรรมกายในเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์
     ๔. หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธบาลี
 
หนังสือพิมพ์แห่งชาติอินเดีย Hindustan (มียอดจำหน่ายต่อวัน๑,๐๐๐,๐๐๐ ฉบับ)
ตีพิมพ์พิธีลงนามสัญญา (MOU) ในวันงานเสวนาบูชาธรรมครั้งนี้ด้วย

     ในส่วนที่ ๑ ผู้เขียนเป็นผู้นำเสนอ โดยบรรยายเรื่อง “ภูมิศาสตร์ของหลักฐานธรรมกายในเส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนา” มีสาระสำคัญที่ได้ปรารภในเบื้องต้นว่า พระเดชพระคุณพระเทพญาณมหามุนี วิ. (หลวงพ่อธัมมชโย) ท่านมีความตั้งใจสืบค้นคำสอนดั้งเดิมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยให้หาหลักฐาน ไม่ว่าจะจารึกบันทึกอยู่ในรูปแบบลักษณะ หรือวัตถุชนิดใด เพื่อทำหน้าที่เป็นทนายแก้ต่างพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะเรื่อง “ธรรมกาย” ซึ่งผู้เขียนและคณะได้เริ่มเข้ารับการศึกษาพัฒนาตนเองในมหาวิทยาลัยต่าง ๆเพื่อให้ได้ความรู้เกี่ยวกับการทำวิจัย และเริ่มทำการสำรวจในภาคสนาม ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๒ โดยคณะทำงานชุดแรกมี ๔ ท่าน ได้รับความเมตตาจากผู้เชี่ยวชาญพระพุทธศาสนาเถรวาท คือ Dr. Edward Crangle รับเป็นที่ปรึกษาโครงการ
โดยเริ่มทำการพัฒนาตนเองและเรียนรู้เกี่ยวกับการทำวิจัยตามระบบสากลในภาคพื้นโอเชียเนีย และเข้าร่วมประชุมด้านวิชาการพระพุทธศาสนาที่มีการประชุมในระดับนานาชาติในทวีปยุโรป ตามด้วยทวีปอเมริกา จนทำให้ทราบว่ามีแหล่งข้อมูลคัมภีร์พุทธโบราณและร่องรอยหลักฐานธรรมกายอยู่หลายแห่ง ต่อมาทางสถาบันฯ มีทีมงานนักวิจัยมาเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้สามารถแบ่งความรับผิดชอบการทำงานวิจัยไปตามแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น ทวีปเอเชีย อันได้แก่เอเชียกลาง เอเชียใต้ เอเชียตะวันออก และเอเชียอาคเนย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศลาวเวียดนาม กัมพูชา เมียนมาร์ ศรีลังกา รวมทั้งไทยด้วย
 
แผนที่โลกที่แสดงถึงจุดภูมิศาสตร์แหล่งข้อมูลและหลักฐานธรรมกาย
ที่คณะนักวิจัยสถาบัน DIRI ปฏิบัติงานสำรวจภาคสนาม

     ต้องถือว่าคณะนักวิจัยสถาบันฯ เริ่มต้นทำงานโดยมีต้นทุนจากศูนย์ก็ว่าได้ แต่เราก็ขวนขวายเข้าพบกับผู้รู้ นักปราชญ์ ทั้งชาวไทยและต่างประเทศที่มีความสามารถในการอ่านอักษรโบราณและทำงานในด้านการอนุรักษ์ปริวรรตคัมภีร์พุทธโบราณ และต่อมาได้ลงไปทำงานภาคสนามกับผู้เชี่ยวชาญอีกหลายท่านผลการศึกษาพบว่า เอกสารโบราณนั้นมีอยู่ ๓ ประเภท คือ ๑. ศิลาจารึก ๒. การบันทึกในคัมภีร์ใบลานหรือเปลือกไม้ ๓. วัสดุที่มีการจารึก ซึ่งไม่ใช่แบบประเภทที่ ๑ และ ๒ เช่น กระดาษ กระดาษข่อย หนังสือไทย พับสาทองคำ เงิน ฯลฯ

     ต่อมา เมื่อคณะทำงานมีการพัฒนาตัวเองในด้านต่าง ๆ มากขึ้น ในที่สุดก็มีการจัดตั้งสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI) ขึ้นมา
 

     ราวปี พ.ศ. ๒๕๔๑-๒๕๔๒ ผู้เขียนอาสาตนรับเป็นธุระเพื่อสานมโนปณิธาน โดยเริ่มจากการเชิญชวนอาสาสมัครที่มีความตั้งใจเช่นเดียวกันมาสร้างทีมงานดำเนินการ โดยนำคุณธรรม อิทธิบาท ๔ (ฉันทะ วิริยะ จิตตะวิมังสา) ซึ่งเป็นวิธีการที่จะนำมาซึ่งความสำเร็จ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ๆ ที่สามารถสรุปได้จากงานเสวนาฯ ครั้งที่ ๓ นี้ ได้แก่

     ๑. ได้ทำการสำรวจและลงภาคสนามเพื่อการสืบค้นวิจัยรวมทั้งสิ้น ๒๒ ประเทศ

     ๒. ได้สร้างความสัมพันธ์กับนักวิชาการพระพุทธศาสนาและลงนามสัญญาร่วมมือทางวิชาการ รวม ๑๒ องค์กร/ประเทศ

     ๓. ได้ความรู้และหลักฐาน โดยเฉพาะร่องรอยเกี่ยวกับธรรมกายจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ รวมถึง ๑๑ ประเทศ (แต่ก็ทราบว่ายังมีแหล่งข้อมูลชั้นปฐมภูมิอยู่อีกหลายประเทศที่คณะของเรายังศึกษาไม่ละเอียด)

     สำหรับปีนี้ทางสถาบันฯ ได้รวบรวมผลงานวิจัยที่ได้ข้อมูลหลักฐานเพิ่มขึ้น และนำมาจัดพิมพ์เผยแผ่เป็นธรรมทาน ประกอบกับสูจิบัตรปีนี้มีข้อความเนื้อหา สรุปถาม-ตอบเรื่องธรรมกาย ที่ล้วนเป็นสาระสำคัญ เป็นอรรถเป็นธรรม มีหลักฐานบ่งชัดเจน เมื่ออ่านศึกษาอย่างละเอียดแล้วสามารถนำไปขยายผลให้สาธารณชนในวงกว้างได้รับทราบความรู้แท้จริงนี้สืบไป

     คณะนักวิจัยสถาบัน DIRI พร้อมด้วยคณะกรรมการที่ปรึกษาและอุปถัมภ์ รวมทั้งผู้สนับสนุนโครงการมาด้วยดี ขอพร้อมใจกันนำความสำเร็จในการจัดงานครั้งนี้ น้อมถวายบูชาธรรมให้เป็นพลวปัจจัยส่งผลให้พระเดช-พระคุณพระเทพญาณมหามุนี วิ. (หลวงพ่อธัมมชโย) มีสุขภาพแข็งแรง อายุขัยยืนยาวปราศจากหมู่ภัยพาลทั้งสิ้น เป็นที่พึ่งและนำพาหมู่คณะ เหล่ากัลยาณมิตร และสรรพสัตว์ทั้งหลายสร้างบารมีมุ่งตรงต่อพระนิพพานจนถึงที่สุดแห่งธรรมเทอญ

     โปรดติดตามเรื่องที่น่าสนใจของการจัดเสวนาบูชาธรรมในฉบับต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น