เรื่อง : พระครูวิเทศสุธรรมญาณ วิ. (สุธรรม สุธมฺโม) และคณะนักวิจัย DIRI
จากวารสารอยู่ในบุญฉบับเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๘
สืบเนื่องจากที่ผู้เขียนและคณะนักวิจัยได้ไปปฏิบัติศาสนกิจล่าสุดที่เมืองลั่วหยาง ณ วัดม้าขาว วัดแห่งแรกในแผ่นดินจีน แล้วเดินทางต่อไปที่เมืองซีอาน (ฉางอาน) มณฑลส่านซี แม้เป็นช่วงค่ำมืด ก็ได้รับน้ำใจจากกัลยาณมิตรที่เคยพบกันเมื่อครั้งที่ประเทศจีนรับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมขององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ครั้งที่ ๒๗ (๑๔-๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๗) ที่วัดฝ่าเหมินซื่อ ซึ่งตั้งอยู่ในเขตมณฑลเดียวกัน
ท่านศาสตราจารย์เยว้ อวี้ จิตรกรผู้มีชื่อเสียงด้านพุทธศิลป์ และเจ้าอาวาสวัดต้าสิ้งส้านซื่อซึ่งเป็นประธานพุทธสมาคมมณฑลส่านซี เมตตามาให้การต้อนรับคณะของเราอย่างอบอุ่น จากนั้นในวันรุ่งขึ้น ท่านก็นำคณะของเราไปศึกษาดูงานพระพุทธศาสนาที่วัดต้าฉือเอินซื่อ ซึ่งเป็นวัดประวัติศาสตร์สำคัญ มีอายุ ๑,๗๐๐ ปี มีร่องรอยและหลักฐานว่าเป็นวัดที่พระธรรมาจารย์เสวียนจั้ง (พระถังซำจั๋ง) ได้ทำการแปลและชำระพระไตรปิฎกจากภาษาอินเดียมาเป็นภาษาจีนนับเป็นคุณูปการอันใหญ่หลวงแก่พระพุทธศาสนาในประเทศจีน หลังจากที่ท่านเดินทางไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยนาลันทาอยู่นานถึง ๑๗ ปี จนมีความเชี่ยวชาญแตกฉาน และเห็นสมควรว่าได้รวบรวมพระคัมภีร์ครบถ้วนแล้ว จึงอัญเชิญกลับมาเมืองจีน รวมระยะของการเดินทางไปกลับ ๕๐,๐๐๐ ลี้ สิ้นเวลาในการเดินทาง ๒ ปี ครั้งนั้นจักรพรรดิถังไท่จงผู้มีพระราชศรัทธาเลื่อมใสพระพุทธศาสนาเสด็จนำมหาชนมาคอยต้อนรับการกลับมาของท่าน ทั้งทรงเมตตาให้การแปลและชำระพระไตรปิฎกอยู่ในพระราชูปถัมภ์ ซึ่งสืบต่อเนื่องมาจนถึงรัชสมัยจักรพรรดิถังเกาจง
การทุ่มเทด้วยศรัทธาอย่างมุ่งมั่นพร้อมด้วยลูกศิษย์ของพระธรรมจารย์เสวียนจั้ง ทำให้ผลงานการแปลและชำระพระไตรปิฎก ซึ่งมีพระสูตรที่สำคัญ ๆ ยังคงดำรงอยู่ถึงปัจจุบันและใช้ศึกษามาถึงทุกวันนี้ทั้งมหายานในเกาหลี เวียดนาม และญี่ปุ่น เช่น พระคัมภีร์ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร ซึ่งเป็นที่นิยมยอมรับกว้างขวางมากกว่าสำนวนแปลของพระธรรมาจารย์ท่านอื่น แม้จะเป็นคัมภีร์พระสูตรเดียวกันพระธรรมาจารย์เสวียนจั้งอยู่ที่วัดนี้นานถึง ๑๑ ปี จวบจนมรณภาพในปี พ.ศ. ๑๒๐๗
ภาพเขียนขนาดใหญ่วาดโดยศาสตราจารย์เยว้ อวี้ แสดง
เหตุการณ์ที่พระภิกษุเสวียนจั้งในวัยหนุ่ม กำลังตั้งใจศึกษา
อ่านพระคัมภีร์ต้นฉบับภาษาอินเดีย ณ มหาวิทยาลัย
นาลันทา โดยมีพระธรรมาจารย์อินเดียผู้เป็นครูอาจารย์
คอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด
เหตุการณ์ที่พระภิกษุเสวียนจั้งในวัยหนุ่ม กำลังตั้งใจศึกษา
อ่านพระคัมภีร์ต้นฉบับภาษาอินเดีย ณ มหาวิทยาลัย
นาลันทา โดยมีพระธรรมาจารย์อินเดียผู้เป็นครูอาจารย์
คอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด
เจดีย์ห่านป่าใหญ่ อายุกว่า ๑,๗๐๐ ปี ซึ่งเดิมเก็บรักษา
คัมภีร์พระไตรปิฎกที่แปลจากภาษาอินเดียมาสู่ภาษาจีน
จำนวน ๔,๐๐๐ ผูก ปัจจุบันเหลืออยู่ประมาณ ๑,๐๐๐ ผูก
ด้านหน้าวัดเป็นที่ตั้งอนุสาวรีย์ของพระธรรมาจารย์เสวียนจั้ง
คัมภีร์พระไตรปิฎกที่แปลจากภาษาอินเดียมาสู่ภาษาจีน
จำนวน ๔,๐๐๐ ผูก ปัจจุบันเหลืออยู่ประมาณ ๑,๐๐๐ ผูก
ด้านหน้าวัดเป็นที่ตั้งอนุสาวรีย์ของพระธรรมาจารย์เสวียนจั้ง
ภายในหอแสดงนิทรรศการประวัติของพระธรรมาจารย์
เสวียนจั้ง และคัมภีร์พระไตรปิฎกที่ท่านได้ชำระและแปล
ถอดความไว้เป็นภาษาจีน
เสวียนจั้ง และคัมภีร์พระไตรปิฎกที่ท่านได้ชำระและแปล
ถอดความไว้เป็นภาษาจีน
วัดนี้จึงเป็นพุทธสถานโบราณที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน มีมหาเจดีย์ขนาดใหญ่ ชื่อ “ต้าเอี้ยนถะ” (เจดีย์ห่านป่าใหญ่) ความสูงราว ๗๐ เมตร ซึ่งเดิมเป็นสถานที่เก็บรักษาพระไตรปิฎกทั้งต้นฉบับเดิมจากอินเดียที่ยังไม่มีการแปลและในส่วนที่แปลและชำระเป็นภาษาจีนแล้ว ตรงนี้เป็นสิ่งที่ผู้เขียนและคณะนักวิจัย DIRI มีความปลื้มปีติอย่างยิ่งที่ทราบว่า เราได้มาพบแหล่งข้อมูลหลักฐานคำสอนดั้งเดิมที่เป็นข้อมูลชั้นปฐมภูมิ แต่คณะของเราจะต้องตั้งใจมั่น มีความเพียรและขันติธรรมอย่างยิ่งเพื่อใช้เวลาทุ่มเทศึกษาดั่งพระมหาเถระเสวียนจั้งและคณะศิษย์ของท่านในกาลก่อน อย่างไรก็ตามผู้เขียนและคณะนักวิจัยขอสงวนเรื่องราวการทำศาสนกิจตรงนี้ไว้ก่อน และจะขอบรรยายเนื้อหาต่อเนื่องจากฉบับที่แล้ว คือ เส้นทางเผยแผ่พระพุทธศาสนา
เส้นทางเผยแผ่พระพุทธศาสนา (ต่อ)
พระเจ้าอโศกมหาราชเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโมริยะปกครองแคว้นมคธในช่วง พ.ศ. ๒๗๐ ถึง พ.ศ. ๓๑๑ ก่อนที่พระองค์จะทรงเปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนา ทรงมีความดุร้ายเป็นอย่างยิ่งจนได้รับฉายาว่า “จัณฑาโศก” แปลว่า อโศกผู้ดุร้าย เมื่อเสด็จไปรบที่แคว้นกาลิงคะ (ปัจจุบันคือรัฐโอริสสา ประเทศอินเดีย) มีผู้บาดเจ็บล้มตายจากภัยสงครามเป็นจำนวนมาก ทรงสลดสังเวชในบาปกรรม เมื่อทรงพบกับนิโครธสามเณรผู้มีจริยวัตรสงบเรียบร้อย จึงทรงนิมนต์ให้แสดงธรรมจากนั้นพระองค์ทรงมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ทรงทำนุบำรุงพุทธศาสนา เช่น ทรงสร้างศาสนสถาน ถาวรวัตถุ และหลักศิลาจารึกมากมาย ทรงเลิกการแผ่อำนาจ หันมาใช้หลักพุทธธรรมหรือธรรมราชาในการปกครอง
พระเจ้าอโศกมหาราชเสด็จไปยังสังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่ง และทรงสถาปนาให้เป็นสถานที่ที่ควรแก่การสักการบูชาของพุทธศาสนิกชนสืบมา พระองค์ทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภกอย่างแท้จริงจนมีพระสมญานามว่า “ธรรมาโศก” แปลว่า อโศกผู้ทรงธรรม
สำหรับการทำสังคายนาในอดีตนั้น เป็นการนำเอาคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ที่พระสงฆ์สาวกทรงจำไว้ได้มาแสดงในที่ประชุมสงฆ์ จากนั้นซักถามกันจนกระทั่งที่ประชุมลงมติว่าถูกต้องแน่นอนแล้ว จึงสวดขึ้นพร้อมกันเพื่อแสดงถึงความเป็นเอกฉันท์ พระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้รับการถ่ายทอดด้วยการทรงจำหรือที่เรียกกันว่า “มุขปาฐะ” เป็นแบบแผนเดียวกันสืบต่อมาโดยมิได้จดจารเป็นตัวหนังสือ
มหาสถูปสาญจี ๑ รัฐมัธยมประเทศ ประเทศอินเดียพุทธศตวรรษที่ ๓-๑๒ เชื่อกันว่าบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ภายใน
ที่มา http://www.buddhiststudies.org.au/Downloads/Bulletins/Sanci.jpg
ที่มา http://www.buddhiststudies.org.au/Downloads/Bulletins/Sanci.jpg
หลักฐานทางพระพุทธศาสนาในช่วง ๓๐๐ ปี หลังพุทธปรินิพพานที่เหลืออยู่มาถึงปัจจุบัน ได้แก่ สถูปทางพระพุทธศาสนาอันได้แก่มหาสถูปสาญจี (Sanchi) พุทธศตวรรษที่ ๓-๑๒ ตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางตะวันตกของอินเดีย และเสาศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราช ที่ทรงสถาปนาขึ้นในสถานที่สำคัญต่าง ๆ ภายในพระราชอาณาจักรของพระองค์
มหาสถูปสาญจี ๓ รัฐมัธยมประเทศ ประเทศอินเดีย พุทธศตวรรษที่ ๓-๑๒ เชื่อกันว่าบรรจุพระธาตุพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ
ที่มา https://sladamibuddyzmu.files.wordpress.com/2010/11/sanci-222-res.jpg
ที่มา https://sladamibuddyzmu.files.wordpress.com/2010/11/sanci-222-res.jpg
จารึกบนเสาศิลาของพระเจ้าอโศกมหาราช (อโสกสดมภ์) ถือเป็นเอกสารทางพระพุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุด ส่วนมากจารึกเป็นภาษาปรากฤตด้วยอักษรพราหมีรุ่นแรก เนื้อหาที่นักวิชาการพบเป็นคำจารึกแสดงความสำคัญของสถานที่ตั้งเสาศิลานั้น หรือประกาศพระบรมราชโองการของพระองค์ว่าด้วยกฎระเบียบในการธำรงพระพุทธศาสนามิให้มีผู้แปลกปลอมเข้ามาอาศัยบวชและทำลายคณะสงฆ์และการออกระเบียบให้มหาอำมาตย์ทุก ๆ คน ร่วมรักษาอุโบสถเป็นประจำ
เสาศิลาพระเจ้าอโศกมหาราช โกลฮูอา (Kolhua Buddha Stupa) สถานที่ปลงอายุสังขาร
ที่มา https://c1.staticflickr.com/9/8199/8163779028_91d44310bd.jpg
ที่มา https://c1.staticflickr.com/9/8199/8163779028_91d44310bd.jpg
จารึกบนเสาศิลาพระเจ้าอโศกมหาราช เมืองเลาลิยะนันทันครห์ (Lauria Nandangarh) จังหวัดจัมปารัน รัฐพิหาร
ประเทศอินเดีย ใกล้เขตแดนประเทศเนปาล
ที่มา http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/613/13613/images/asokpillar7.jpg
ประเทศอินเดีย ใกล้เขตแดนประเทศเนปาล
ที่มา http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/613/13613/images/asokpillar7.jpg
อักษรพราหมีบนเสาศิลาพระเจ้าอโศกมหาราชสวนลุมพินี ประเทศเนปาล
ที่มา http://www.christopherculver.com/languages/inscriptions-in-nepal.html/attachment/ashoka-pillar-2
ที่มา http://www.christopherculver.com/languages/inscriptions-in-nepal.html/attachment/ashoka-pillar-2
หลังการสังคายนาครั้งนี้ พระเจ้าอโศกมหาราชผู้ทรงเดชานุภาพดุจธรรมราชาของชมพูทวีปได้ทรงอุปถัมภ์และสนับสนุนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างกว้างขวาง ทรงส่งสมณทูตออกไปประกาศพระศาสนาทั้งภายในและนอกพระราชอาณาเขตได้ถึง ๙ สาย คือ
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พุทธศตวรรษที่ ๓-๔ ภาพโดยชัชวาลย์ เสรีพุกกะณะ
สายที่ ๑ มีพระมัชฌันติกเถระเป็นหัวหน้าคณะเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแคว้นกัษมิระ1 และแคว้นคันธาระ 2
สายที่ ๒ มีพระมหาเทวเถระเป็นหัวหน้าคณะเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแคว้นมหิสสกมณฑล 3
สายที่ ๓ มีพระรักขิตเถระเป็นหัวหน้าคณะเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่วนวาสีประเทศ 4
สายที่ ๔ มีพระธรรมรักขิตเถระหรือพระโยนกธรรมรักขิตเถระเป็นหัวหน้าคณะเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอปรันตกชนบท 5
สายที่ ๕ มีพระมหาธรรมรักขิตเถระเป็นหัวหน้าคณะเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแคว้นมหาราษฎร์ 6
สายที่ ๖ มีพระมหารักขิตเถระเป็นหัวหน้าคณะเผยแผ่พระพุทธศาสนาในโยนกประเทศ 7
สายที่ ๗ มีพระมัชฌิมเถระพร้อมด้วยพระกัสสปโคตรเถระ พระมูลกเทวเถระ พระทุนทภิสสระเถระและพระเทวเถระไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนแถบหิมวันต์ 8
สายที่ ๘ พระโสณเถระและพระอุตตรเถระเป็นหัวหน้าคณะเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดน
สุวรรณภูมิ
สุวรรณภูมิ
สายที่ ๙ พระมหินทเถระพร้อมด้วยคณะ พระอริฏฐเถระ พระอุทริยเถระ พระสัมพลเถระและพระหัททสารเถระไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในลังกาทวีป
ผู้เขียนและคณะนักวิจัยได้รวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมทางวิชาการตามวาระต่าง ๆ และจากการสดับฟังจากท่านผู้รู้อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นต้นมา และอาศัยร่องรอยของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาดังกล่าวทั้ง ๙ สายนี้ไปศึกษาเพื่อกำหนดพันธกิจวางแผนงานสืบค้นคำสอนดั้งเดิมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังจะได้นำเสนอต่อไปในฉบับหน้า เพื่อเป็นธรรมทานแก่สาธารณชน
ผู้เขียนและคณะนักวิจัยได้รวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมทางวิชาการตามวาระต่าง ๆ และจากการสดับฟังจากท่านผู้รู้อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นต้นมา และอาศัยร่องรอยของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาดังกล่าวทั้ง ๙ สายนี้ไปศึกษาเพื่อกำหนดพันธกิจวางแผนงานสืบค้นคำสอนดั้งเดิมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังจะได้นำเสนอต่อไปในฉบับหน้า เพื่อเป็นธรรมทานแก่สาธารณชน
---------------------------------------------------------
1ปัจจุบันคือ รัฐแคชเมียร์ ประเทศอินเดีย
2ปัจจุบันคือ รัฐปัญจาปทั้งในประเทศอินเดียและประเทศปากีสถาน
3ปัจจุบันคือ รัฐไมเซอร์และดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำโคธาวารี ตอนใต้ของประเทศอินเดีย
4ปัจจุบันคือ ดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอินเดีย
5ปัจจุบันเชื่อว่าคือ ดินแดนแถบชายทะเลแถบเมืองบอมเบย์
6ปัจจุบันคือ รัฐมหาราษฎร์ของประเทศอินเดีย
7ปัจจุบันคือ ดินแดนบางส่วนของประเทศอิหร่าน
8ปัจจุบันเชื่อว่าคือ ประเทศเนปาล
2ปัจจุบันคือ รัฐปัญจาปทั้งในประเทศอินเดียและประเทศปากีสถาน
3ปัจจุบันคือ รัฐไมเซอร์และดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำโคธาวารี ตอนใต้ของประเทศอินเดีย
4ปัจจุบันคือ ดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอินเดีย
5ปัจจุบันเชื่อว่าคือ ดินแดนแถบชายทะเลแถบเมืองบอมเบย์
6ปัจจุบันคือ รัฐมหาราษฎร์ของประเทศอินเดีย
7ปัจจุบันคือ ดินแดนบางส่วนของประเทศอิหร่าน
8ปัจจุบันเชื่อว่าคือ ประเทศเนปาล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น