วันพุธที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560

หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑)



เรื่อง : พระครูวิเทศสุธรรมญาณ วิ. (สุธรรม สุธมฺโม) และคณะนักวิจัย DIRI
จากวารสารอยู่ในบุญฉบับเดือนมิถุนายน ฑ.ศ.๒๕๕๘
 

    การบังเกิดขึ้นของดวงอาทิตย์ย่อมขจัดความมืดมิดให้หมดสิ้นไปได้ฉันใด การบังเกิดของเอกบุรุษ คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าย่อมยังประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่มวลมนุษยชาติ ในอันที่จะขจัดมลทิน คือ ความมืดบอดในใจให้หมดสนิ้ ไปได้ฉันนั้น เพราะความรู้อันบริสุทธิ์ที่เกิดจากการประพฤติธรรมตามคำสั่งสอนของพระองค์จะนำพาให้มวลมนุษย์มีดวงปัญญาบริสุทธิ์ ดำเนินชีวิตไม่ผิดพลาด และอยู่รอดปลอดภัยอย่างผู้มีชัยชนะในวัฏสงสาร

    วันเพ็ญวิสาขปุรณมีบูชานี้ ถือว่าเป็นวันดีที่สุดในโลกวันหนึ่ง เพราะเป็นวันที่ทำให้เราได้น้อมรำลึกถึงพระคุณอันสูงส่งของพระพุทธองค์ ผู้ทรงสั่งสมบุญบารมีมายาวนานถึง ๒๐ อสงไขยกับแสนมหากัป จนมีบุญบารมีเต็มเปี่ยม ได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ ในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ เมื่อราว ๒,๖๐๐ ปีก่อน

     ตามคติของชาวพุทธเถรวาท พระพุทธองค์ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ตรงกันในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ซึ่งต่อมาชาวพุทธเรียกวันนี้ว่า “วันวิสาขปุรณมีบูชา” จึงกล่าวได้ว่า วันเพ็ญวิสาขบูชาเป็นวันที่พระพุทธองค์ทรงอุบัติด้วยพระกายทั้งสอง คือ ในวันประสูติทรงอุบัติด้วยพระรปู กาย ณ สวนลุมพินีและในวันตรัสรู้ทรงอุบัติด้วยพระธรรมกาย ณ โคนต้นพระศรมหาโพธิ์ 1เป็นวันที่ “ธรรมกาย” คือกายแห่งการตรัสรู้ธรรมบังเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในพุทธันดรนี้

    การบังเกิดขึ้นของพระพุทธองค์ผู้ทรงรู้แจ้งแทงตลอดในธรรมทั้งปวง ทั้งวิชชา ๓ วิชชา ๘ อภิญญา ๖ ปฏิสัมภิทาญาณ ๔ วิโมกข์ ๘ และจรณะ ๑๕ เป็นต้นนั้น มีความหมายและทรงคุณค่าอย่างจะนับประมาณมิได้ เพราะเป็นจุดเริ่มต้นในการกำจัดอวิชชา คือ ความไม่รู้ ที่เป็นอันตรายและมหันตภัยของทุกชีวิต

     พระพุทธองค์ผู้ทรงบริบูรณ์ด้วยองค์คุณทั้ง ๓ ประการ คือ พระมหากรุณาธิคุณ พระปัญญาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ ทรงสอนให้เราละชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใส ด้วยการประพฤติธรรมซึ่งจะเป็นทางนำไปสู่การพ้นทุกข์ได้ในที่สุด ทรงสอนให้เราทราบว่า ในกายของเรา คือ อัตภาพอันมีขนาดกว้างศอก ยาววา หนาคืบนี้ มีอริยมรรค คือ หนทางสายกลางที่จะนำไปสู่การตรัสรู้ธรรมภายในด้วยธรรมจักษุ คือ ตาแห่งธรรมกาย ที่เห็นแจ้งทุกอย่างได้ตามความเป็นจริง และญาณทัสนะ คือ ความรู้แจ้งของธรรมกายที่เป็นเครื่องส่องนำทางสู่การตรัสรู้ แล้วจะก่อให้เกิดความเข้าใจว่าคนเราเกิดมาทำไม อะไรคือเป้าหมายและแก่นสารของชีวิต อันจะนำไปสู่การดับกิเลสและดับทุกข์โดยสิ้นเชิง
 

     ตลอดระยะเวลากว่า ๒,๕๐๐ ปี ที่ผ่านมา พระพุทธศาสนาได้แผ่ขยายไปสู่ดินแดนต่าง ๆ ผ่านยุคเฟื่องฟู และถดถอยไปตามกาลเวลา หลายประเทศกลายเป็นอดีตเมืองพุทธ ในขณะที่บางประเทศยังสามารถรักษาพระพุทธศาสนาเอาไว้ได้อย่างมั่นคง ด้วยเหตุนี้คำสอนในพระพุทธศาสนาจึงกระจัดกระจายอยู่ตามดินแดนต่าง ๆ และมีความแตกต่างกันบ้างตามความผันแปรของสังคมชาวพุทธ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเข้าใจที่สมบูรณ์ในนิยามของคำว่า “ธรรมกาย” และการปฏิบัติธรรมเพื่อให้เข้าถึง “พระธรรมกาย” ได้เลือนรางไป ก่อให้เกิดความคลุมเครือหรือคลาดเคลื่อนจากคำสอนดั้งเดิม
 
ความร่วมมือทางวิชาการของสถาบันดีรีกับมหาวิทยาลัยออสโล ที่มีชื่อเสียงระดับโลก โดยท่านศาสตราจารย์เจนส์ บราวิค (คนที่สามแถวหลังนับจากขวามือ) เป็นหนึ่งในผู้ริเริ่ม โครงการศึกษาคัมภีร์โบราณที่มีอายุเกือบ ๒,๐๐๐ ปี
ความร่วมมือทางวิชาการของสถาบันดีรีกับมหาวิทยาลัยออสโล ที่มีชื่อเสียงระดับโลก
โดยท่านศาสตราจารย์เจนส์ บราวิค (คนที่สามแถวหลังนับจากขวามือ) เป็นหนึ่งในผู้ริเริ่ม
โครงการศึกษาคัมภีร์โบราณที่มีอายุเกือบ ๒,๐๐๐ ปี

     พระเดชพระคุณพระเทพญาณมหามุนี วิ. (หลวงพ่อธัมมชโย) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการรักษาและสืบทอดคำสอนดั้งเดิมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงดำริให้จัดตั้งสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (Dhammachai International Research Institute - DIRI สถาบันดีรี) ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ณ ประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เพื่อทำหน้าที่ในการค้นคว้าหาหลักฐานคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธศาสนา ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ตามนิกายและประเทศต่าง ๆ โดยให้ศึกษาค้นคว้าวิจัยความเป็นมา จนกระทั่งสามารถย้อนยุคไปถึงสมัยพุทธกาล และจะได้เก็บรักษาหลักฐานคำสอนเหล่านั้นไว้สำหรับเผยแพร่สืบต่อไป เพื่อยืนยันสัจธรรมของธรรมะที่เป็น “อกาลิโก” คือนำสมัยตลอดกาลโดยไม่จำกัดเวลา และเพื่อเป็นพยานยืนยันว่า ทุกคนที่ปฏิบัติตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะสามารถเข้าถึง “พระธรรมกาย” ที่มีอยู่ภายในตัวและเข้าถึงความสุขแท้จริงที่มีอยู่ภายใน
 
ความร่วมมือทางวิชาการของสถาบันดีรีกับมหาวิทยาลัยเคลานียา ประเทศศรีลังกา
ความร่วมมือทางวิชาการของสถาบันดีรีกับมหาวิทยาลัยเคลานียา ประเทศศรีลังกา

     สถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI) ได้ดำเนินงานในการแสวงหาความร่วมมือกับองค์กรและนักวิชาการในระดับนานาชาติ ที่ทำงานเกี่ยวเนื่องกับคัมภีร์พุทธโบราณหรือคำสอนดั้งเดิมในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมทั้งการพัฒนานักวิชาการและนักวิจัยของสถาบันฯ เพื่อการวิจัยค้นคว้าและการเผยแผ่ควบคู่กันไป
 
“พิธีลงนามสัญญาความร่วมมือทางวิชาการ (ล่าสุด) ของสถาบันดีรีกับศูนย์พุทธศาสตร์ศึกษา แห่งมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ โดยศาสตราจารย์ ดร. ริชาร์ด กอมบริช นักวิชาการทางพระพุทธศาสนาระดับโลก ร่วมลงนามในพิธี เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘”
“พิธีลงนามสัญญาความร่วมมือทางวิชาการ (ล่าสุด) ของสถาบันดีรีกับศูนย์พุทธศาสตร์ศึกษา
แห่งมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ โดยศาสตราจารย์ ดร. ริชาร์ด กอมบริช
นักวิชาการทางพระพุทธศาสนาระดับโลก ร่วมลงนามในพิธี เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘”

การลงนามสัญญาความร่วมมือทางวิชาการของสถาบันดีรีกับมหาวิทยาลัยวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ในโครงการศึกษาคัมภีร์พระพุทธศาสนายุคต้น
การลงนามสัญญาความร่วมมือทางวิชาการของสถาบันดีรีกับมหาวิทยาลัยวอชิงตัน
สหรัฐอเมริกา ในโครงการศึกษาคัมภีร์พระพุทธศาสนายุคต้น

การลงนามสัญญาความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันดีรี กับมหาวิทยาลัยโอทาโก นิวซีแลนด์
การลงนามสัญญาความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันดีรี
กับมหาวิทยาลัยโอทาโก นิวซีแลนด์


    สถาบันดีรีได้ทำสัญญาความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำหลายแห่งในต่างประเทศเพื่อการศึกษาคัมภีร์เก่าแก่ในพระพุทธศาสนา การฝึกอบรมนักวิจัยเกี่ยวกับการอ่านอักษรและภาษาโบราณที่ใช้บันทึกคัมภีร์พุทธ และการสนับสนุนการศึกษาวิจัยระดับปริญญาโทและปริญญาเอกทางพระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาทีมงานวิจัย เป็นต้น สถาบันการศึกษาดังกล่าวได้แก่ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน กรุงซีแอตเทิล ประเทศสหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยออสโล ประเทศนอร์เวย์ มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ มหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย มหาวิทยาลัยโอทาโก ประเทศนิวซีแลนด์ มหาวิทยาลัยโคตมะ ประเทศอินเดีย เป็นต้น รวมทั้งสนับสนุนการศึกษาอักษรและภาษาโบราณที่ใช้จารึกคัมภีร์พุทธในประเทศไทยด้วย การดำเนินงานของสถาบันฯ ได้นำมาซึ่งการค้นพบหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณในหลายภาษาจากหลายภูมิภาค เป็นเครื่องรับรองความรู้อันบริสุทธิ์ในการเข้าถึงพระธรรมกาย ดังจะได้นำเสนอต่อเนื่องในฉบับต่อ ๆ ไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น