วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559

อานุภาพหลวงปู่ : ผจญภัยกลางสายน้ำเชี่ยว



เรื่องของ : แพทย์หญิงณัฐวรรณ พละวุฑิโฒทัย หรือหมอปอ

สะพานข้ามแม่น้ำแควเป็นสิ่งก่อสร้างทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่ง
และมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักของชาวโลก จนกระทั่งมีฝรั่งนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์
ชื่อ
The Bridge over the River Kwai สะพานแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟสายมรณะ
ที่สร้างขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ โดยแรงงานของเชลยศึกสัมพันธมิตรจำนวนมาก
ที่ญี่ปุ่นเกณฑ์มา ซึ่งส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟจะต้องผ่านแม่น้ำแควใหญ่ จึงมีการก่อสร้างสะพานแห่งนี้ขึ้น ณ บริเวณตำบลท่ามะขาม อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
การสร้างสะพาน และทางรถไฟสายนี้เป็นไปด้วยความยากลำบาก
ทำให้เชลยศึกหลายหมื่นคนเสียชีวิตลง  เล่ากันว่า ...
ทางรถไฟสายนี้ใช้แรงงานและชีวิตเชลยศึก ๑ ไม้หมอน ต่อ ๑ ชีวิตเลยทีเดียว

            ปัจจุบัน การรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดบริการเดินรถบนเส้นทางสายนี้ทุกวัน
และจัดรถไฟขบวนพิเศษ
สายกรุงเทพฯ-น้ำตก ทุกวันเสาร์-อาทิตย์
และวันหยุด
ราชการ ซึ่งปรากฏว่ามีผู้คนเดินทางไปชมสะพานแห่งนี้เป็นจำนวนมาก
และหนึ่งในจำนวนผู้คนที่เดินทางไป
ชมสะพานข้ามแม่น้ำแคว

             ก็คือ แพทย์หญิงณัฐวรรณ  
พละวุฑิโฒทัย หรือหมอปอ  ซึ่งขณะนั้นรับราชการ
อยู่ที่ 
โรงพยาบาลคำม่วง จ. กาฬสินธุ์
            เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ บรรดา  เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลคำม่วง
เดินทางไปทัศนศึกษา
สะพานข้ามแม่น้ำแคว ในเวลาประมาณ ๑๗.๓๐ น.
บรรยากาศยามเย็นที่สดชื่นเย็นสบายและทิวทัศน์ที่ สวยงาม มีมนต์เสน่ห์ดึงดูดทำให้เธอ
และเพื่อนหมออีก ๒ 
คน พากันเดินไปชมจนถึงกลางสะพาน เมื่อหมอณัฐวรรณ
มองลงไปใต้สะพาน เธอก็เห็นว่ามีกระแสน้ำที่ถูกปล่อยออกมาจากเขื่อน
ทำให้น้ำในแม่น้ำแควมีระดับสูงขึ้นและ
ไหลเชี่ยวกราก

            ทันใดนั้น พวกเธอก็ได้ยินเสียงหวูดรถไฟดังไล่มาทุกคนจึงรีบหลบเข้าไปตรงจุดพักคนข้างรางรถไฟ เธอกับเพื่อนอีกคนหนึ่งคือหมอณัฐชัยยืนอยู่ด้วยกัน
ตอนนั้นเสียง
หวูดรถไฟดังกระชั้นมากขึ้นเรื่อย ๆ ขณะที่รถไฟแล่นเฉี่ยว
พวกเธอไป หมอณัฐวรรณรู้สึกว่ามีอะไรมาฟาดที่หัวอย่างแรง ทำให้เธอกับหมอณัฐชัยกระเด็นตกจากสะพานดิ่งลงกระแทกกับพื้นน้ำ

           หมอณัฐวรรณเล่าว่า หลังจากนั้นเธอก็วูบไป รู้สึกเหมือนตกอยู่ในภวังค์อันเลวร้าย
ที่มีมัจจุราชรออยู่เบื้องหน้า เธอรู้สึกว่าตัวเองกำลังจมและพยายามดิ้นรนว่ายน้ำพยุงตัว

          มีคนมาเล่าให้เธอฟังภายหลังว่า พวกชาวบ้าน
ตะโกนโหวกเหวกร้องเรียก
เรือที่เหลืออยู่ลำสุดท้ายบน
ลำน้ำให้เข้ามาช่วยเธอ หัวเรือเข้ามาถึงหมอณัฐชัยก่อน
แต่
โชคร้ายที่กระแสน้ำซัดเขาให้ห่างออกจากเรือและดูดให้จมดิ่งลงไปจนไม่สามารถช่วยได้ ในเวลาเดียวกัน คนขับเรือก็เหลือบเห็นมือของหมอณัฐวรรณที่โผล่ขึ้นมาก่อนจะจมดิ่ง
ตามหมอณัฐชัยลงไป คนขับเรือคว้ามือเธอไว้ทัน แล้วลากขึ้นมาบนเรือได้
และพยายามช่วยให้เธอได้สติเร็วที่สุด
           เมื่อเริ่มรู้สึกตัว เธอจำอะไรไม่ได้เลย งงว่าตัวเองอยู่ที่ไหน มาทำอะไรอยู่ตรงนี้
ทำไมมีผู้คนมุงเต็มไปหมด ต้อง
ใช้เวลาสักครู่กว่าจะเรียกความจำคืนมาได้
พอรู้ตัวก็รีบคลำ
สร้อยที่ห้อยเหรียญหลวงปู่ทันที นึกขอบพระคุณที่หลวงปู่ช่วยคุ้มครอง
หลังจากนั้นก็มีคนนำเธอส่งโรงพยาบาล ส่วน
เพื่อนของเธอที่ตกสะพานไปด้วยกัน หลังจากผ่านการค้นหาเป็นเวลา ๓๖ ชั่วโมง ถึงได้เจอในสภาพที่เป็นศพไปแล้ว

            เหตุการณ์ครั้งนี้ มีแต่คนถามว่าเธอรอดมาได้อย่างไร สำหรับตัวเธอเองคิดว่า
ไม่มีสิ่งอื่นใดที่จะทำให้เธอ
รอดจากความตายกลางสายน้ำเชี่ยวได้
นอกจากหลวงปู่ที่
เธอแขวนเหรียญท่านติดไว้กับตัว เธอเห็นแล้วว่า
เธอกับ
เพื่อนยืนอยู่ติดกัน โดนรถไฟพุ่งเฉี่ยวกระแทกตกลงไปด้วยกัน ณ ตำแหน่งเดียวกัน
จมน้ำห่างกันนิดเดียว เพื่อนตาย
แต่เธอกลับรอดมาได้อย่างไม่น่าเชื่อ และแทบไม่บาดเจ็บ
อะไรเลย มีแค่หัวโนกับถลอกนิดหน่อย

            ด้วยบุญทั้งหลายที่เธอทำมาตั้งแต่เข้าวัดพระธรรมกาย
จาก ๕ ขวบ จนถึงปัจจุบัน
และบุญที่ทำเนื่องกับหลวงปู่
ผู้เป็นทักขิไณยบุคคลนับครั้งไม่ถ้วน
รวมทั้งมีใจผูกไว้กับ
หลวงปู่ตลอดมา ทำให้ในที่สุดหลวงปู่ก็คุ้มครองเธอให้รอด
ชีวิตเป็นอัศจรรย์ แม้ห้วงน้ำเชี่ยวใต้เส้นทางรถไฟสายมรณะก็ไม่อาจกลืนกินชีวิตของเธอได้

Cr. หนังสือ ยิ่งรู้จัก ยิ่งเคารพรักท่าน 
http://www.kalyanamitra.org/book/index_dhammabook.php


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น