วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

"ธรรมกาย" จากพระไตรปิฎก




 [๕๕] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสต่อไปว่า ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ เธอทั้งสองคนมีชาติก็ต่างกัน 
มีชื่อก็เพี้ยนกัน มีโคตรก็แผกกัน มีตระกูลก็ผิดกัน พากันทิ้งเหย้าเรือนเสีย มาบวชเป็นบรรพชิต 
เมื่อจะมีผู้ถามว่า ท่านทั้งสองนี้เป็น พวกไหน เธอทั้งสองพึงตอบเขาว่า 
ข้าพเจ้าทั้งสองเป็นพวกพระสมณศากยบุตร ดังนี้เถิด ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็ผู้ใดแล 
มีศรัทธาตั้งมั่นเกิดขึ้นแล้วแต่ รากแก้วคืออริยมรรค ประดิษฐานมั่นคง อันสมณพราหมณ์ เทวดา
 มาร พรหม หรือผู้ใดผู้หนึ่งในโลก ไม่พรากไปได้ ควรเรียกผู้นั้นว่า เป็นบุตรเกิดแต่พระอุระ 
เกิดแต่พระโอฐของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้เกิดแต่พระธรรม เป็นผู้ที่พระธรรม เนรมิตขึ้น 
เป็นผู้รับมรดกพระธรรม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคำว่า ธรรมกาย ก็ดี ว่าพรหมกาย ก็ดี 
ว่าธรรมภูต ก็ดี ว่าพรหมภูต ก็ดี เป็นชื่อของตถาคต ฯ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค



              [๓๖๕] เราหักแขมด้วยมือทั้งสองทำกระท่อมอยู่ เพราะฉะนั้น เราจึงมีชื่อโดยสมมติว่า 
สรภังคะ วันนี้เราไม่ควรหักแขม ด้วยมือทั้ง สองอีก เพราะพระสมณโคดมผู้เรืองยศ 
ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่ เราทั้งหลาย เมื่อก่อน เราผู้ชื่อว่าสรภังคะไม่เคยได้เห็นโรคคือ 
อุปาทานขันธ์ ๕ ครบบริบูรณ์ทั้งสิ้น โรคนั้น อันเราผู้ทำตามพระ ดำรัสของพระพุทธเจ้า 
ซึ่งเป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ได้เห็นแล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า พระวิปัสสี พระสิขี 
พระเวสสภู พระกกุสันโธ พระโกนาคม พระกัสสป ได้ เสด็จไปแล้วโดยทางใดแล 
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม      ก็ได้เสด็จไปแล้ว โดยทางนั้น พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์
ทรงปราศจากตัณหา ไม่ทรงถือมั่น ทรงหยั่งถึงความสิ้นกิเลส เสด็จอุบัติแท้ โดยธรรมกาย 
ผู้คงที่ ทรงเอ็นดูอนุเคราะห์ สัตว์ทั้งหลาย ได้ทรงแสดงธรรม คือ อริยสัจ ๔ อันได้แก่ทุกข์ 
เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ทางเป็นที่สิ้นทุกข์ เป็นทาง ไม่เป็นไปแห่งทุกข์ อันไม่มีที่สุดในสงสาร 
เพราะกายนี้แตก และ เพราะความสิ้นชีวิตนี้ การเกิดในภพใหม่อย่างอื่นมิได้มี เราเป็น 
ผู้หลุดพ้นแล้วจากสรรพกิเลสและภพทั้งปวง.

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา



นักปราชญ์เหล่าใดเจริญสุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ และอัปปณิหิตวิโมกข์ 
ไม่บรรลุความเป็นพระสาวกในศาสนา พระชินเจ้านักปราชญ์เหล่านั้นย่อมเป็น
พระสยัมภูปัจเจกพุทธเจ้า มีธรรมใหญ่ มีธรรมกายมาก มีจิตเป็นอิสระ ข้ามห้วงทุกข์ ทั้งมวลได้ 
มีจิตโสมนัส มีปกติเห็นประโยชน์อย่างยิ่ง เปรียบดังราชสีห์ เช่นกับนอแรดพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านี้ 
มีอินทรีย์ระงับ มีใจสงบ มีจิตมั่นคง มีปกติ ประพฤติด้วยความกรุณาในสัตว์เหล่าอื่น 
เกื้อกูลแก่สัตว์ รุ่งเรืองในโลกนและโลกหน้า เช่นกับประทีป ปฏิบัติเป็นประโยชน์แก่สัตว์ 
พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านี้ ละกิเลสเครื่องกั้นทั้งปวงหมดแล้ว เป็นจอมแห่งชน 
เป็นประทีปส่องโลกให้สว่าง เช่นกับรัศมีแห่งทองชมพูนุท เป็นทักขิไณยบุคคลชั้นดีของโลก 
โดยไม่ต้องสงสัย บริบูรณ์อยู่เนืองนิตย์ คำสุภาษิต ของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย 
ย่อมเป็นไปในโลกทั้งเทวโลก ชนเหล่าใดผู้เป็นพาลได้ฟังแล้ว ไม่ทำเหมือนดังนั้น 
ชนเหล่านั้นต้องเที่ยวไปในสังขารทุกข์บ่อยๆ คำสุภาษิตของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย 
เป็นคำไพเราะ ดังน้ำผึ้งรวงอันหลั่งออกอยู่ ชนเหล่าใดได้ฟังแล้ว ประกอบ การปฏิบัติตามนั้น 
ชนเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้มีปัญญา เห็นสัจจะ คาถาอัน โอฬารอันพระปัจเจกพุทธชินเจ้าออกบวชกล่าวแล้ว คาถาเหล่านั้น พระตถาคตผู้สีหวงศ์ศากยราชผู้สูงสุดกว่านรชน ทรงประกาศแล้ว เพื่อให้รู้แจ้งธรรม คาถาเหล่านี้ พระปัจเจกเจ้าเหล่านั้นรจนาไว้อย่างวิเศษ เพื่อ ความอนุเคราะห์โลก 
อันพระสยัมภูผู้สีหะทรงประกาศแล้ว เพื่อยังความ สังเวช การไม่คลุกคลีและปัญญาให้เจริญ ฉะนี้แล. 

 พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑


    [๑๓๙] เรานั่งอยู่ในโรงอันกว้างใหญ่ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคพระนามว่าปทุมุตระ 
ผู้เป็นนายกของโลก ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว ผู้บรรลุพลธรรมแวดล้อมด้วย ภิกษุสงฆ์ 
ภิกษุสงฆ์ประมาณ ๑ แสน ผู้บรรลุวิชชา ๓ ได้อภิญญา ๖ มีฤทธิ์มาก แวดล้อมพระสัมพุทธเจ้า 
ใครเห็นแล้วจะไม่เลื่อมใส ในมนุษยโลกพร้อมทั้งเทวโลกไม่มีอะไรเปรียบ 
ในพระญาณของพระสัมพุทธเจ้าองค์ใด ใครได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น 
ผู้มีพระญาณไม่สิ้นสุด แล้วจะไม่เลื่อมใสเล่า ชนทั้งหลายแสดงธรรมกาย และไม่อาจทำ 
รัตนากรทั้งสิ้นให้กำเริบได้ ใครได้เห็นแล้วจะไม่เลื่อมใสเล่า พราหมณ์ นารทะนั้นชมเชยพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตระผู้ไม่แพ้ด้วย ๓ คาถานี้แล้วเดินไปข้างหน้า ด้วยจิตอันเลื่อมใสและด้วยการชมเชยพระพุทธเจ้านั้น เราไม่ได้เข้าถึงทุคติเลยตลอดแสนกัลป ในกัลปที่ ๓๐๐๐ แต่กัลปนี้ 
ได้มีพระเจ้าจักรพรรดิจอมกษัตริย์พระนามว่าสุมิตตะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพลมาก 
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว 
พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้วดังนี้.ทราบว่า ท่านพระอัตถสันทัสสกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ 
ด้วยประการฉะนี้แล.

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑


ข้าแต่พระสุคตเจ้า หม่อมฉันเป็นมารดาของพระองค์ ข้าแต่พระธีรเจ้า 
พระองค์เป็นพระบิดาของหม่อมฉัน ข้าแต่พระโลกนาถ พระองค์เป็นผู้ประทานความสุข 
อันเกิดจากพระสัทธรรมให้หม่อมฉัน ข้าแต่พระโคดม หม่อมฉันเป็นผู้อันพระองค์ให้เกิด 
ข้าแต่พระสุคตเจ้า รูปกายของพระองค์นอันหม่อมฉันทำให้เจริญเติบโต 
ธรรมกายอันน่าเพลิดเพลินของหม่อมฉัน อันพระองค์ทำให้เจริญเติบโตแล้ว 
หม่อมฉันให้พระองค์ ดูดดื่มน้ำนมอันระงับเสียได้ ซึ่งความอยากชั่วครู่ 
แม้น้ำนม คือพระสัทธรรมอันสงบระงับล่วงส่วน พระองค์ก็ให้หม่อมฉันดูดดื่มแล้ว 
ข้าแต่พระมหามุนี ในการผูกมัดและรักษา พระองค์ชื่อว่ามิได้ เป็นหนี้หม่อมฉัน 

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก

-----------------------

หลักฐานมีปรากฎในพระไตรปิฎกอย่างชัดเจนและหลายที่อย่างนี้
เราไม่อาจจะกล่าวตู่โดยปราศจากการศึกษาอย่างละเอียดลึกซื้อได้เลยว่า
วัดพระธรรมกาย, บิดเบือนหรือสอนผิดไปจากพระไตรปิฎก!

สิ่งสำคัญอันสูงสุดของการศึกษา คือ การลงมือปฏิบัติธรรม
เพื่อพิสูจน์ หลักหฐานคือคำว่า "ธรรมกาย" ที่มีปรากฎอยู่ในพระไตรปิฎก
นั้นต่างหากคือวิสัยของบัณฑิตนักปราชญ์พึ่งกระทำ
ไม่ใช่มั่วนั่งเสียเวลากับการโต้เถียงเจรจาด้วยความรู้สึกนึกคิดจิตมยไปเอง
ว่าไม่มีจริง ไม่เห็น ไม่ใช่อย่างนั้นอย่างนี้! แล้วก็ตกอยู่ในความไม่รู้ต่อไป 

พึ่งระลึกให้ชัดเสมอว่า
พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาแห่งปัญญา
ที่เกิดจากการปฏิบัติธรรมฝึกกาย วาจา จิต ด้วย ศีล สมาธิ  และจึงเกิดปัญญา 

ไม่ใช่การวิเคราะห์ด้นเดาโดยเอาความเป็นพหูสูตสามัญทั่วไปอย่างที่ทำกันอยู่


"ธัมมกาโย อะหัง อิติปิ: ตถาคต คือ ธรรมกาย"





2 ความคิดเห็น:

  1. ความหมายที่วัดธรรมกายสอน เป็นการขยายความ คำว่า"ธรรมกาย" ขัดกับคำสอนในพระไตรปิฏก
    ผิดตรงตีความว่าธรรมกายคือนิมิตอันเกิดจากการกำหนดจิตให้เห็นรูปนิมิตเป็น พระพุทธรูป หรือองค์พระว่า ว่าเป็นธรรมกายเป็นการเข้าถึงนิพพาน ทั้งที่นี่เป็นเพียง สมถะ ผลที่ได้เป็นเพียงการสร้างกำลังสมาธิ แต่กิเลสตัณหายังคงอยู่ครบถ้วนไม่หายไปไหน

    คำว่าธรรมกายในพระไตรปิฏกใช้เพียงเป็นคำเรียกแทนพระพุทธเจ้าเป็นพระนามของพระพุทธเจ้า หรือให้ความหมายถึงศีล สมาธิ ปัญญา ไม่ใช่เป็นการตีความบิดเบือนอย่างที่วัดธรรมกายสอนอย่างสิ้นเชิง

    คำสอนที่บิดเบือนของวัดธรรมกายยังมีอีกมาก ยกตัวอย่างเช่น การเอาร่างกายมนุษย์หรือขันธ์5 เข้าไปในนิพพาน
    เพราะจะมีฤทธิมาก สามารถเอาชนะพระพุทธเจ้าภาคดำได้ ขัดแย้งกับคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ทรงสอนเอาไว้ว่าอย่าได้ยึดมั่นถือมันในขันธ์ 5 เพราะเป็นที่ตั้งแห่งกองทุกข์ มีความไม่เที่ยง เกิดความเสื่อมถ่อย เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

    ซึ่งความจริงแล้วไม่มีทางนำเอาร่างกายมนุษย์หรือขันธ์5 เข้าไปในนิพพานได้เด็ดขาด อ้างอิงจาก พาหิยสูตร
    พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ดิน น้ำ ไฟ และลม ย่อมไม่หยั่งลงในนิพพานธาตุใด ในนิพพานธาตุนั้น ดาวทั้งหลายย่อมไม่สว่างพระอาทิตย์ ย่อมไม่ปรากฏ พระจันทร์ย่อมไม่สว่าง ความมืดย่อมไม่มี ก็เมื่อใดพราหมณ์ชื่อว่าเป็นมุนี
    เพราะรู้ (สัจจะ ๔) รู้แล้วด้วยตน เมื่อนั้น พราหมณ์ย่อมหลุดพ้นจากรูปและอรูป จากสุขและทุกข์ ฯ

    ตอบลบ
  2. เรื่องการปฏิบัติธรรม พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้อย่างละเอียดถี่ถ้วน บรรยายขั้นตอนต่างๆไว้ดีแล้ว
    ก่อนลงมือปฏิบัติ ควรศึกษาขั้นตอนให้เข้าใจก่อนแล้วปฏิบัติ ไม่ใช่ปฏิบัติมั่วซั่วแล้วยึดว่าเป็นของดี
    อย่างที่ธรรมกายยึดรูปนิมิตองค์พระเป็นนิพพาน

    ตอบลบ